ตัวป่วนของคนเลี้ยงผึ้งสามารถแก้ปัญหาถุงพลาสติคล้นโลกของเราได้
ถุงพลาสติคเป็นสิ่งที่อันตรายของยุคสมัยนี้ ขณะที่คุณกำลังอ่านเรื่องนี้อยู่ มีถุงพลาสติคเกือบสองล้านถุงทั่วโลกที่กำลังถูกใช้อยู่ ณ ตอนนี้ ตลอดเวลาในปีที่ผ่านมา โดยจำนวนถุงพลาสติคที่ถูกไปอาจจะถึงล้านล้านถุงเลยก็เป็นได้ และเป็นปัญหาของระบบทางเดินอาหารของสัตว์น้ำ ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้คิดวิธีการจัดการปัญหาต่างๆขึ้นมาแล้ว จากการคิดค้นวิธีการที่จะช่วยให้สามารถนำถุงพลาสติคกลับมาใช้ซ้ำได้ ด้วยการผลิตพลาสติคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น แต่ธรรมชาติอาจจะมีทางออกที่ง่ายกว่า นั้นคือ แว๊กซ์วอร์ม (wax worms) หรือหนอนผีเสือกลางคืน
เนื่องจากคนเลี้ยงผึ้งและหนอนผีเสื้อกลางคืน จริงๆแล้วมันคือตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน ซึ่งมันเป็นปรสิทที่คอยกัดกินขี้ผึ้ง บางครั้งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายให้กับรังผึ้ง มันทำให้พิษของผึ้งอ่อนแอลง เฟดเดอริก้า เบอโทกินี่ (Federica Bertocchini) หัวหน้านักวิจัยและคนดูแลผึ้งฝึกหัดของสถาบันชีวเวชกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ แคนทาเบรียในสเปนได้เห็นความสามารถที่คาดไม่ถึงของหนอนผีเสื้อที่สามารถกินและย่อยพลาสติคโดยบังเอิญ
จากนั้นพวกเขาทำการทดลองระยะสั้น โดยการปล่อยหนอนผีเสื้อกลางคืนไว้ข้างในถุงพลาสติค จากนั้นถุงพลาสติคก็กลายเป็นรูพรุน ภายในเวลาเพียงแค่ 40 นาที (นั้นก็คือประมาณสองรูต่อหนอนหนึ่งตัวในทุกๆหนึ่งชั่วโมง) แล้วถุงพลาสติคก็กลายรูโหว่ภายใน 12 ชั่วโมงต่อมา นั่นแสดงให้เห็นว่าถุงพลาสติค เมื่อใช้เวลาสักพักนึงมันก็จะถูกย่อยสลายลงได้ การค้นพบนี้เป็นการทดลองที่มีสำคัญที่จะช่วยกำจัดขยะพลาสติคประเภทโพลิเอทิลีนในหลบฝังกลบและมหาสมุทรได้
ในปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตอย่างแบคทีเรียและหนอนนก (หนอนนกเป็นสัตว์เพาะเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น นกสวยงาม ปลาสวยงาม ) ซึ่งสามารถย่อยสลาย PET (พอลิเอทิลีนเทเฟทาเลต)เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอโนเมอร์ และกล่องโฟมบรรจุอาหารต่างๆ อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงความเร็วในการกิน มันแน่อยู่แล้วว่า แชมป์การกินพลาสติคต้องเป็นของหนอนผีเสื้ออย่างแน่นอน
จากการศึกษาก่อนหน้านี้ เขานำหนอนผีเสื้อกลางคืนจำนวน 100 ตัวใส่ในไว้ในโฟมบรรจุอาหาร 24 ชั่วโมง พบว่ามันกัดกินโฟมไปถึง 39 มิลลิกรัม และแบคทีเรียใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์เพื่อที่จะทำลายพอลิเอทิลีนเฟทาเลตในอุณหภูมิที่ 86 องศาฟาเรนไฮต์หรือประมาณ 30 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ประมาณการณ์ว่าการย่อยสลายของแบคทีเรียไว้ที่ 0.13 มิลลิกรัมต่อวัน ในทางกลับกัน หนอนผีเสื้อ100ตัว หนอนผีเสื้อเจาะทะลุผ่านพลาสติค 92 มิลลิกรัมได้ภายในเวลาแค่ครึ่งวัน
สิ่งที่น่าสังเกตุคือการที่พวกมันสามารถย่อยสลายพลาสติคได้ นักวิจัยต้องการทำให้แน่ใจว่าหนอนแว๊กซ์นั้นกำลังย่อยสลายพลาสติคได้จริงๆ และไม่ใช่แค่กัดถุงพลาสติค ทางออกของนักวิจัยก็คือพวกเขาบดหนอนแว๊กซ์ แล้วนำไปป้ายบนถุงพลาสติค ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือถุงพลาสติคสลายไป 13 เปอร์เซนต์ จากการวิเคราะห์การย่อยสลายของถุงพลาสติค แสดงให้เห็นว่าหนอนแว๊กซ์สามารถเปลี่ยนพอลิเอทิลีนให้เป็นเอทิลีนไกลคอลได้ พิสูจน์ให้เห็นว่าหนอนแว๊กซ์ย่อยพลาสติคได้จริงๆ
ผู้เขียนร่วมเปาโลบอมเบลลี, นักชีวเคมีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้กล่าวว่า “หนอนผีเสื้อกลางคืนไม่เพียงแค่กัดกินพลาสติคโดยไม่ต้องปรับแต่งทางเคมีใดๆ เราพบว่าหนอนผีเสื้อกลางคืนสามารถห่วงโซ่พอลิเมอร์ในพลาสติกประเภทโพลีเอธิลีนได้”
แล้วหนอนผีเสื้อกลางคืนทำอย่างไรกับถุงพลาสติคละ? นักวิจัยเชื่อว่าอาจจะมีบางอย่างที่ทำปฏิกิริยากับโพลิเอทิลีนและขึ้ผึ้งได้ มันก็เหมือนกับการย่อยสลายขี้ผึ้ง ซึ่งขี้ผึ้งมีไขมันต่างๆประกอบอยู่ และโพลีเอทิลีนมีพันธะเคมีที่คล้ายๆกัน โดยหนอนผีเสื้อกลางคืนนั้นได้รับโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับขี้ผึ้งนั้นแหละ
“ซึ่งขี้ผึ้งก็คือโพลิเมอร์ ประเภทพลาสติคธรรมชาติ และมีพันธะเคมีไม่แต่ต่างจากพอลีเอทิลีน” เบอร์โทชินี่ได้กล่าวไว้
นั้นหมายความว่าหนอนผีเสื้อกลางคืนจะไปอยู่ที่หลุมฝังกลบในอนาคตอย่างงั้นหรอ ? มันไม่เป็นอย่างนั้น เพราะหลุมฝังกลบนั้นเป็นสภาพแวดล้อมแบบไม่มีออกซิเจนและขาดออกซิเจน นั้นหมายถึงแมลงก็จะไม่สามารถอยู่ได้ในสถานที่แบบนั้น อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็หวังว่าพิสูจน์และแยกเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติกของหนอนผีเสื้อเพื่อให้สามารถปรับขนาดและใช้ในงานอุตสาหกรรมได้
“หนอนผีเสื้อสามารถผลิตสิ่งที่ทำลายพันธเคมีได้, บางทีอาจจะมาจากต่อมน้ำลายของมันหรือแบคทีเรียที่เป็นพยาธิในลำไส้ของมัน ” บอมเบลลี่กล่าว “ขั้นตอนต่อไปสำหรับเราคือการทดลองและพิสูจน์ระบบโมเลกุลในปฏิกิริยาเคมีในสเกลขนาดใหญ่และกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เราสามารถทำได้”