ทางเลือกที่ดีกว่าในการเปลี่ยนกากกาแฟให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการพัฒนากระบวนการใหม่ที่ง่ายในการเปลี่ยนกากกาแฟเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ
การใช้กากกาแฟที่ใช้แล้วเปลี่ยนเป็นสิ่งต่างๆได้หลายอย่าง เช่น นำมาใช้กรองน้ำ, วัสถุใช้ทำถนน, ตัวดักจับคาร์บอน และ เชื้อเพลิงชีวภาพ โชคไม่ดีที่การสกัดน้ำมันจากกากกาแฟนั้นเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก จึงไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากนัก อย่างไรก็ตาม นั่นกำลังจะเปลี่ยนไป เมื่อนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย แลนแคสเตอร์ของอังกฤษ มีขั้นตอนการสกัดน้ำมันจากกากกาแฟเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่ง่ายขึ้น
อย่างแรก ส่วนใหญ่กากกาแฟที่ใช้แล้วก็จะถูกทิ้งไป แม้ว่า กากกาแฟเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งกระบวนการนี้มักจะเริ่มทำโดยการผสมกากกาแฟกับเฮกเซน(ตัวทำละลายอินทรีย์)ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสหรือ 140 องศาฟาเรนไฮต์ เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงเพื่อสกัดน้ำมันออกมาจากกากกาแฟ ถัดมาเมื่อเฮกเซนถูกระเหยออกจากน้ำมันแล้ว จะเติมเมทานอลและตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มเข้ามา เพื่อเปลี่ยนมันให้เป็นไบโอดีเซล และกลีเซอรอลซึ่งเป็นผลพลอยได้จากขบวนการนี้ ในขั้นตอนสุดท้ายจะทำการแยกกลีเซอรอลที่ออกจากไบโอดีเซล
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้นำโดย ดร เวสน่า นาจดาโนวิค วิซาค ทีมแลนแคสเตอร์ พัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า อินซิตู ทรานเอสเทอริฟิเคชั่น ซึ่งเป็นกระบวนที่รวมเอาการสกัดน้ำมันและเปลี่ยนน้ำมันให้เป็นไบโอดีเซลไว้ในขั้นตอนเดียวกัน เริ่มต้นโดยเฮกเซนจะถูกทำให้ระเหยออกไปให้หมด ด้วยเมทานอลและโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เพิ่มเข้าไปโดยตรงในกากกาแฟ นอกจากนี้การสกัดน้ำมันจากกากกาแฟใช้เวลาเพียง 10 นาที ในอีกทางนึงก็ประมาณหนึ่งหรือสองชั่วโมง
ด้วยวิธีการนี้จะช่วยลดเวลาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการสกัดน้ำมันเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ จะทำให้กากกาแฟเพิ่มการแข่งขันทางการค้าในการเป็นแหล่งของพลังงาน ดร นาจดาโนวิค-วิซาค ได้กล่าวไว้ “กากกาแฟที่ใช้แล้วส่วนใหญ่ก็จะถูกทิ้งไว้ในหลุมฝังกลบขยะ และตอนนี้เราสามารถนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญเหนือกว่าน้ำมันดีเซลจากเชื้อเพลิงฟอสซิล”
A paper on the research was recently published in the Journal of Environmental Chemical Engineering.
Source: Lancaster University