[kc_row _id=”221302″ cols_gap=”{`kc-css`:{}}” use_container=”yes” force=”__empty__” row_style=”classic” css_custom=”{`kc-css`:{`any`:{`background`:{`background|`:`eyJjb2xvciI6IiNlY2Y1ZmUiLCJsaW5lYXJHcmFkaWVudCI6WyIiXSwiaW1hZ2UiOiIlU0lURV9VUkwlL3dwLWNvbnRlbnQvdXBsb2Fkcy8yMDE3LzA4L2Nsb3VkczE1LnBuZyIsInBvc2l0aW9uIjoiMCUgMCUiLCJzaXplIjoiYXV0byIsInJlcGVhdCI6InJlcGVhdCIsImF0dGFjaG1lbnQiOiJzY3JvbGwiLCJhZHZhbmNlZCI6MX0=`}}}}”][kc_column width=”12/12″ video_mute=”no” _id=”111086″][crum_title title=”โครงการบูรณาการเพื่อการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน” show_link=”__empty__” align=”align-center” _id=”90392″ type=”h3″ top_label=”Household Hazardous Waste”][kc_column_text _id=”898504″]
ของเสียอันตรายจากชุมชน (Household Hazardous Waste) เป็นของเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งจากครัวเรือนและสถานประกอบการในชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม สถานศึกษา ร้านค้า ร้านซักแห้ง ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น ของเสียอันตรายเหล่านี้ถ้าไม่ผ่านกระบวนการบำบัดและกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนและแพร่กระจายของสารอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อาหารและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ ในปัจจุบันผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตรายจากชุมชนบางส่วน อาจไม่ทราบว่าจะจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือนได้อย่างไร ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีโครงการกระตุ้นสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกและรีไซเคิลของเสียอย่างกว้างขวาง แต่ของเสียอันตรายจากชุมชน เช่น หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย หรือแบตเตอรี่ เป็นต้น เป็นของเสียที่มักจะถูกนำไปทิ้งรวมไปกับขยะมูลฝอยทั่วไป
การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนมีวิธีการจัดการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของของเสียที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จึงได้ดำเนินงานโครงการบูรณาการเพื่อการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการจัดการเฉพาะของเสียอันตรายจากชุมชน ไม่ได้รวมถึงของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีข้อบังคับและกฎหมายกำกับดูแลอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว โดยมีขอบเขตการวิจัยตั้งแต่แหล่งกำเนิดของเสียอันตรายจากชุมชน เช่น สถานศึกษา หมู่บ้านจัดสรร โรงแรม เป็นต้น จนถึงการจัดการของเสียอันตราย พร้อมทั้งวางแผนงานให้ครอบคลุมกระบวนการจัดการ ตั้งแต่รวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน เช่น ของเสียอิเล็กทรอนิกส์ กระป๋องสเปรย์ รวมถึงการให้ความรู้ เสริมสร้างจิตสานึกและการตระหนักถึงความสาคัญของการแยกของเสียอันตรายจากชุมชน การประสานงานและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและโรงงานรับกำจัด/บำบัด เพื่อรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้น จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน และเสนอแนะเป็นมาตรการเชิงนโยบายต่อไป
การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยโครงการย่อย 3 โครงการ ดังนี้
- โครงการการจัดการของเสียในพื้นที่เกาะโดยมีโรงเรียนเป็นต้นแบบและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการของเสียชุมชน: กรณีศึกษาโรงเรียนเกาะหมากน้อย จังหวัดพังงา
- โครงการบูรณาการเพื่อการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน ประเภทหมู่บ้านจัดสรร
- โครงการบูรณาการเพื่อการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน: ประเภทโรงแรม
[/kc_column_text][/kc_column][/kc_row]