🎉🎉ขอเชิญเข้าชมงานมหกรรม🎉🎉
🎗️อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND🎗️
📌 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
🗓️ วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567

✒️ บูธนิทรรศการ บริเวณ ZONE D: SCIENCE FOR EXPONENTIAL GROWTH
🗓️ 22-24 ก.ค. โครงการวิจัย End-of-Waste : Plaster Mold Waste
🗓️ 25-26 ก.ค. โครงการวิจัยบ่มเพาะผู้ประกอบการด้าน E-Waste สู่วิสาหกิจ
🗓️ 27-28 ก.ค. โครงการวิจัยยกระดับการจัดการ Industrial Waste และ Green House Gas ด้วย Digital Technology

✒️ บริเวณ ZONE F: SCIENCE FOR FUTURE THAILAND
“ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับกลุ่มวิจัยด้านของเสียที่มีความสนใจ รวมพลังนักวิชาการจากทุกศาสตร์ ทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอแนวนโยบายและงานวิจัยในการแก้ไขปัญหาขยะและของเสียของประเทศ

🧑‍🎤ร่วมเสวนา “เดินหน้าประเทศไทย: ความพร้อมการลดของเสียผ่านเศรษฐกิจหมุนเวียน”
🗒️ วันที่ 27 ก.ค. เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้อง MR 203
ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานด้านการจัดการของเสียมายาวนาน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จัดสัมมนา “Upcycle : Update เพื่อ Upgrade ธุรกิจ สู่ตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน” เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา “Upcycle : Update เพื่อ Upgrade ธุรกิจ สู่ตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน” ภายใต้ “โครงการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงสู่ตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี” ณ ห้องกมลทิพย์ 3 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์นโยบาย ข้อกำหนด กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในตลาดโลก ผลกระทบต่อธุรกิจไทย และถ่ายทอดตัวอย่างเทคโนโลยีรีไซเคิล/อัพไซเคิล เพื่อต่อยอด/สร้างธุรกิจใหม่ที่เชื่อมโยงสู่ตลาด CE โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 102 ท่าน

ในงานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติในการกล่าวต้อนรับโดย รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. และกล่าวเปิดการสัมมนาโดย ดร.ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กพร. และมีวิทยากรร่วมนำเสนอผลงานในหัวข้อต่างๆ ประกอบด้วย

  • แนะนำโครงการ โดย คุณเจริศา จำปา ศสอ.
  • เทรนด์โลกกับธุรกิจไทย : นโยบาย ข้อกำหนด กฎระเบียบของเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดย ดร.ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ Global Compact Network Thailand : GCNT)
    ดร.จุฑาทิพย์ มณีพงษ์ กรรมการสมาคมนักผังเมืองไทย และวิทยากรหลักสูตรการออกแบบธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน CIRCO
  • เทคโนโลยีรีไซเคิลเถ้าลอยถ่านหิน โดยการผลิตเป็นซีโอไลต์ฟูจาไซต์
    โดย ผศ.ดร.สงบ คำค้อ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • เทคโนโลยีรีไซเคิลสารละลายทองแดงที่เกิดจากการกัดแผ่นวงจรพิมพ์ โดยการผลิตเป็นอนุภาคทองแดงนาโน โดย ผศ.ดร.ฐาปนีย์ พัชรวิชญ์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • เทคโนโลยีรีไซเคิลซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ส่วนประกอบที่ไม่ใช่โลหะ) โดย ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ศสอ.
  • เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชนในรูปวัสดุก่อสร้าง โดย รศ.ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ และนายชัชพงศ์ ณ ป้อมเพชร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากเถ้าชานอ้อยในงานวิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง โดย ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ปิยะภานุวัตน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี

พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจที่จะสมัครเข้าร่วมพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการอุตสาหกรรม ในการเพิ่มมูลค่าของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแนวคิด CE เพื่อเชื่อมโยงสู่ตลาด CE ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการฯ จะรับสมัครสถานประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมายถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2567

🎉🎉🎉กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนา “Upcycle : Update เพื่อ Upgrade ธุรกิจ สู่ตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน” ในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ 3 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ภายใต้โครงการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงสู่ตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

📌หัวข้อการสัมมนาประกอบด้วย📌

🔹 เทรนด์โลกกับธุรกิจไทย : นโยบาย ข้อกำหนด กฎระเบียบของเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
🔹 เทคโนโลยีรีไซเคิลเถ้าลอยถ่านหิน โดยการผลิตเป็นซีโอไลต์ฟูจาไซต์
🔹 เทคโนโลยีรีไซเคิลสารละลายทองแดงที่เกิดจากการกัดแผ่นวงจรพิมพ์ โดยการผลิตเป็นอนุภาคทองแดงนาโน
🔹 เทคโนโลยีรีไซเคิลซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ส่วนประกอบที่ไม่ใช่โลหะ)
🔹 เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากเถ้าลอยจากเตาเผาขยะชุมชนในรูปวัสดุก่อสร้าง
🔹 เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากเถ้าชานอ้อยในงานวิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง

พร้อมรับสมัครสถานประกอบการเพื่อเข้าร่วมการพัฒนาและยกระดับฯ

📋 ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนา https://forms.gle/33MtfjZR13ys55FUA

🌐 ดาวน์โหลดเอกสารและกำหนดการได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1YOf3eka4Fz4uFsqg3rOj93IXCi8ZHwLY

👥 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : คุณสุธาทิพย์ โทรศัพท์ 0865147436 และ 022183959

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 พร้อมวางแผนและพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) จัดการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 และวางแผนพัฒนากิจกรรมสำหรับปีที่ 2-5 โดยมี รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 9 ศสอ.

รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ในปีที่ 1 รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและการดำเนินงานในปีที่ 2-5 พร้อมทั้งระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะในการสร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการของเสียทั้งในและต่างประเทศ จากประธานกลุ่มการจัดการของเสีย ประกอบไปด้วย ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ (กลุ่มของเสียอุตสาหกรรม) ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี (ของเสียชุมชน) รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล (มูลฝอยติดเชื้อ) และ ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล (ของเสียพลาสติก) เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯ และงานวิจัยด้านการจัดการของเสียในประเทศไทยได้มีแนวทางและยุทธศาสตร์การวิจัยที่เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง รวมไปถึงการขยายเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีด้านการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนให้เกิดความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ได้ต้อนรับ นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) และคณะ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย สาขาการจัดการของเสียอุตสาหกรรม สาขาการจัดการของเสียชุมชน และสาขาการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ให้ความสนใจและยินดีร่วมผลักดันให้เกิดการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความร่วมมือในวงกว้าง

เมื่อวันที่ 23 -26 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม คุณวานิช สาวาโย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ ส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กรมควบคุมมลพิษ คุณประโชติ กราบกราน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกรรม) สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ประจำกรุงโตเกียว ร่วมกับประธานกลุ่มของเสียอุตสาหกรรม (ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ) ของเสียพลาสติก (ผศ.ดร. มานิตย์ นิธิธนากุล) ของเสียติดเชื้อ (รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล) และคณะนักวิจัยจากศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิจัย และโรงงานอุตสาหกรรมด้านการจัดการของเสียประเภทต่างๆ ภายใต้ “การศึกษาดูงานการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

โดยคณะผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัย และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ณ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ที่เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยีเซนเซอร์ในแบบจำลอง AI เพื่อรักษาคนไข้ รวมถึงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการนำดินมาวิเคราะห์การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น อีกทั้งยังมีโอกาสอันดีที่ได้รับทราบสถานการณ์การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตและหน้าที่ของผู้บริโภค กับ the Association for Electric Home Appliances (AEHA) และยังมีโอกาสได้เข้าหารือกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of the Environment, Japan) ในการจัดทำแผนแม่บทจัดการขยะอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการขนขยะข้ามประเทศ และการสร้างความร่วมมือสนับสนุนด้านวิชาการ ซึ่งจะช่วยยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อพัฒนาสู่เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายประเทศต่อไป
นอกจากนี้คณะผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานยังได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงงานที่ดำเนินการจัดการของเสียแต่ละประเภท ได้แก่

  • J&T Recycling Corporation โดยเน้นการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกในเขตเมืองโยโกฮามา เพื่อนำมาอัดก้อนก่อนส่งไปจำหน่ายเพื่อผลิตเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
  • Tokyo Rinkai Eco Green and J&T Recycling Corporation มีการใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้เพื่อผลิตพลังงานในการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียติดเชื้อ
  • JFE Urban Corporation โรงงานถอดแยกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 4 ประเภท ได้แก่ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ อย่างมีประสิทธิภาพและมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อทุ่นแรงคนในการทำงาน
  • Kawasaki PET bottle recycling factory โรงงานรวบรวมของเสียพลาสติกที่มีการคัดแยกแล้ว และมีการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิต rPET
  • Keiaisha Co.,LTD at Yokohama Vehicle Recycling โรงงานรีไซเคิลชิ้นส่วนรถยนต์และกำจัดซากรถยนต์สิ้นสภาพ

ซึ่งจากการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการของเสียอย่างยั่งยืนในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อคณะผู้ศึกษาดูงานและนักวิจัย เพื่อต่อยอดและนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบาย กฎหมาย พร้อมทั้งนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป

เมื่อวันที่ 23 -25 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้เป็นผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาหารือในการจัดการกากอุตสาหกรรมของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องมีแผนแม่บท ออกกฎหมายที่ต้องบูรณาการทุกหน่วยงานในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน

ที่มา:https://www.facebook.com/diwindustrial

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจาก องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น “การพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสียสำหรับแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว ครั้งที่ 1” ในวันพุธที่ 17 เมษายน 2567 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมสุรศักดิ์ 1 โรงแรมอีสตินแกรนด์สาธร กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ต่อการจัดตั้งโครงสร้างเชิงสถาบันและการพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการ Provision of Services Relative to End-of-Waste Management in Thailand Focusing on Plaster Mold Waste ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) โดยได้รับเกียรติจากนายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมด้วยการบรรยายนโยบายด้านการพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย โดยดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 40 ท่านจากภาครัฐ เอกชน อุตสาหกรรม สถาบันการศึกษาและวิจัย และหน่วยงานอิสระ โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบโครงการ Application of Industry-Urban Symbiosis and Green Chemistry for Low Emission and Persistent Organic Pollutants Free Industrial Development in Thailand ขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนรัฐบาลไทยในการสาธิตการแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรม โดยการเตรียมเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย และสนับสนุนหน่วยงานที่รับผิดขอบในการเตรียมการจัดโครงสร้างสถาบันและกระบวนการปฏิบัติสำหรับของเสียอื่นๆ ซึ่งจะนำไปสู่ทางเลือกนวัตกรรมของการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย
🌐📑📊🌏เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการ”การยกระดับระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมและก๊าซเรือนกระจกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ ห้องจามจุรี 1 โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ และเปิดระบบฐานข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทดลองใช้งาน Digital Waste Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่นำข้อมูลกากอุตสาหกรรมมาวิเคราะห์และแสดงผลในรูปแบบดิจิทัล รวมทั้งนำข้อมูลไปสร้างเป็น Model เพื่อวิเคราะห์โดยผ่านกระบวนการ Machine Learningทั้งนี้ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มาเป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา สถาบันการวิจัย และหน่วยงานผู้ให้ทุนทำให้ได้รับข้อเสนอแนะและคำแนะนำจากผู้ที่ทดลองใช้งานระบบ Digital Waste Platform รวมไปถึงความต้องการเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาต่อยอดแพลตฟอร์มดังกล่าวต่อไปในอนาคต
________________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
📩 hsm@chula.ac.th
☎️ 02 218 3952
Center of Excellence on Hazardous Substance Management #HSM

ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.เพ็ญศิริ เอกจิตต์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และผู้เชี่ยวชาญภายใต้ “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS-HUB)” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก WMS-HUB เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อ “Medical Waste Classification Using Convolutional Neural Network” ในงาน 2024 14th International Conference on Future Environment and Energy (ICFEE 2024), Matsue City ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 15-17 มีนาคม 2567 และได้รับรางวัล the best presentation award ใน Session 3: Ecological Environment Pollution Control and Disaster Management