♻️🏭❄️วันที่ 28 กันยายน 2566 คุณสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และทีมคณะวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมงานฝึกอบรมทีมช่างในการเก็บกู้สารทำความเย็น โดยดำเนินการร่วมกับบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด และบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจกับทีมช่าง ในการจัดการอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การจัดการอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี สนับสนุนโดยกองทุน Cooling innovation fund การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นางสาวมุทิตา วิเลปสุวรรณ นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้ร่วมงาน Bangkok Design Week 2023, Powered by PechaKucha โดยขึ้นเวทีทอล์กในธีม ‘Meet (urban) nice people’ สมรภูมิความครีเอทีฟกับการต่อยอดไอเดียเมือง-มิตร-ดี กับ PechaKucha ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่โดยกำหนดจำนวนรูปภาพและเวลาให้อยู่ในจำนวน 20 รูปภาพ x 20 วินาที ที่จะช่วยส่งต่อแรงบันดาลใจในการทำตัวเป็นมิตรให้เมืองน่าอยู่กว่าเดิม ณ Function Room ชั้น 4 TCDC กรุงเทพฯ, ทั้งนี้ น.ส.มุทิตาได้นำเสนอในหัวข้อเรื่องธีมนี้ โดยมีใจความสำคัญ คือ “บางทีพลาสติกอาจจะไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่เป็นพวกเราเองหรือเปล่าที่ใช้มันอย่างไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ฉะนั้นการเปลี่ยนวิธีใช้อาจจะสำคัญมากกว่าการเลือกใช้ เราควรเลือกใช้สิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุดก่อน”

การอบรมออนไลน์ เรื่อง  “การจัดทำเอกสาร SDS” โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยหลักการจัดการสารเคมี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าลงทะเบียนต่อท่าน : 4,900 บาท  ** กรุณาชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 15 กันยายน 2565

วัตถุประสงค์ :   

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในระบบ GHS และสามารถจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบ GHS ได้
  2. เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้อง สอดคล้องกันของข้อมูลใน เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ได้
  3. เพื่อให้สามารถจัดทำ SDS ได้อย่างถูกต้องตามระบบ GHS

เนื้อหาการอบรม :

  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
  • ความเป็นมา
  • องค์ประกอบของระบบ GHS
  • เอกสารอ้างอิง GHS
  1. การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี – Chemical hazards classification –
  • ประเภทความเป็นอันตราย
  • การจำแนกความเป็นอันตรายและฉลากของสารเคมีตามระบบ GHS
  1. การจัดทำ SDS
  • SDS คืออะไร มีลักษณะอย่างไร
  • แหล่งสืบค้นข้อมูล
  1. ฝึกปฏิบัติการจัดทำ SDS

คณะวิทยากร :

  • ดร. ขวัญนภัส สรโชติ          ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์     ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชนัญญา เพิ่มชาติ               ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วลัยพร มุขสุวรรณ               ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดการจัดอบรม :  ระยะเวลาที่เปิดให้เข้าเรียน/อบรม 5 วัน ดังนี้

รุ่นที่ 3 : วันที่ 19-23 กันยายน 2565

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย(ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ…