ผิวมะเขือเทศและเปลือกไข่ลงเอยด้วยการเป็นยางรถยนต์

ยางรถยนต์ทั่วไปประกอบด้วยคาร์บอนแบล็คประมาณร้อยละ 30 ซึ่งเป็นสารที่เพิ่มความทนทานให้กับยางรถยนต์ คาร์บอนแบล็คคือผลผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม อย่างไรก็ตาม มันก็หมายความว่าก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิตยางรถยนต์ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ นำโดยแคทรีนา คอร์นิชได้ทดลองหาทางเลือกอื่นที่”เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ที่สามารถหาได้ง่ายก็คือ เปลือกไข่และผิวมะเขือเทศ

นำเปลือกไข่และผิวมะเขือเทศมาตากแห้งและบดให้เป็นผง จากนั้นเติมมันเข้าไปในการผลิตยางรถยนต์ ตามที่รายงานการวิจัยการใช้เปลือกและผิวมะเขือเทศจะทำให้ยางมีความแข็งแรงขึ้น ขณะเดียวกันมันคงเหลือความยืดหยุ่นไว้อยู่ (โดยส่วนใหญ่แล้วสารเติมแต่งความแข็งแรงอื่น ๆ จะลดความยืดหยุ่นของยาง)

ด้วยคุณสมบัติของเปลือกไข่ที่มีรูพรุนจะช่วยให้ยางเกาะถนนได้ดีขึ้น ขณะที่ผิวของมะเขือเทศจะให้ความเสถียรในอุณหภูมิสูง เนื่องจากพวกมันมีเส้นใยที่เหนียว

ตอนนี้ นักวิจัยจากบริษัทผลิตรถยนต์ฟอร์ดและบริษัทไฮนซ์ได้ใช้ผิวของมะเขือเทศในโรงงานผลิตชิ้นส่วนภาย

ในรถยนต์ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยทัสคีจี ใช้เปลือกไข่ในการผลิตพลาสติคชีวภาพแบบยืดหยุ่น

ตามที่ชาวคอร์นวอลล์กล่าว เทคโนโลยีของรัฐโอไฮโอ จะช่วยให้การผลิตยางให้ยั่งยืนมากขึ้น มันให้ชาวอเมริกันลดการพึ่งพาการน้ำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ และการผลิตยางรถยนต์ด้วยวิธีนี้จะลดของเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมอาหาร ก่อนที่จะไปที่หลุมฝังกลบ ทำให้ยางที่ผลิตด้วยการผสมเปลือกไข่และผิวมะเขือเทศทำให้ยางที่ผลิตได้มีสีน้ำตาลแดง อย่างไรก็ตาม ทีมงานก็กำลังมองหาวิธีการเติมสีดำเข้าไป

Source: The Ohio State University