About the project

ชื่อและ email.com สำหรับติดต่อ
นางสาวมุทิตา วิเลปสุวรรณ / mutita.w@chula.ac.th

ที่มาและความสำคัญ

ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำขยะพลาสติกกลับเข้าสู่กระบวนการกลับมาใช้ประโยชน์ได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น สาเหตุมาจาก การที่มีขยะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี และไม่มีการคัดแยกขยะ ณ ต้นทาง ทำให้ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ถูกนำไปทิ้งในพื้นที่ฝังกลบ แทนที่จะถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ ทำให้เมืองต้องแบกรับปัญหาทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่ยากจะฟื้นฟู ซึ่งการจะนำขยะ พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ร้อยละ 100 ตามแผนการจัดการขยะพลาสติกของรัฐบาล ควรต้องมีการ ดำเนินการเรื่องการจัดการขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการรวบรวมเพื่อนำ กลับมาใช้ประโยชน์ และสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ เพื่อให้การพัฒนาเมืองมีความฉลาดรู้ สามารถปรับสภาพให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืนภายใต้ภาวะวิกฤติ ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ

ผลการดำเนินโครงการ

เป็นการพัฒนาต้นแบบระบบการจัดการขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและเกาหลีใต้ โดยมี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI สำหรับช่วยในการคัดแยกขยะพลาสติกให้ถูกต้องและง่ายขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยก ขยะพลาสติกของผู้บริโภค ด้วยการตั้งจุดรับคืนขยะ “ถังขยะอัจฉริยะ” หรือ Smart Bin ที่มาพร้อมกับระบบติดตามขยะ พลาสติกตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางที่มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และสร้างความมีส่วนร่วมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ ข้อมูลขยะพลาสติกที่เก็บรวบรวมได้ จะนำมาจัดทำฐานข้อมูลทางกายภาพและเคมีของขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวต่อไป

ผลกระทบต่อสังคม

  1. สร้างความร่วมมือในการต่อยอดธุรกิจจากนวัตกรรมดิจิทัลในกลุ่มธุรกิจ Smart City ระหว่าง ไทย – เกาหลีใต้
  2. ผลักดันการสร้าง Circular Economy for Sustainable Cognitive City ที่สามารถนำไปสู่การใช้งานทั้งในและต่างประเทศ
    • มีเครื่องมือที่ช่วยคัดแยกประเภทขยะพลาสติกได้อย่างถูกต้องและง่ายขึ้น
    • เพิ่มปริมาณการรวบรวมขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวสู่การจัดการอย่างถูกต้องและยั่งยืน
    • เพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการจัดการขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว