บรรทัดทองที่ทุกคนอาจจะยังไม่รู้จัก

ที่มา : YouTube Thai PBS

ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบอย่างยั่งยืนโดยใช้ผนังยิปซัมรีไซเคิลจากกากอุตสาหกรรม”

เอกสารบรรยาย

สามารถ Download เอกสารประกอบการบรรยาย ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

https://drive.google.com/drive/folders/1T8_Xvm2L8Samhm9CBTgr56yPlVe_foS-

Updated: 22/11/2567

การตั้งชื่อไฟล์ Conceptual Design ให้ตั้งเป็นชื่อทีม หรือชื่อผลงาน?

ผู้เข้าร่วมการประกวดสามารถตั้งชื่อไฟล์ที่จะส่งเป็นชื่อผลงานได้เลยค่ะ และระบุชื่อทีมพร้อมชื่อสมาชิกทุกคนของทีมไว้ในเนื้อหาของอีเมล์ด้วยค่ะ

ไฟล์ Conceptual Design ควรจะส่งเป็นแนวตั้งหรือแนวนอน ?

ส่งไฟล์เป็นแนวนอนดีกว่าค่ะ เนื่องจากจะทำให้เห็นรายละเอียดได้ดีกว่าและสะดวกต่อการจัดแสดงผลงานด้วยค่ะ

จากภาพของพื้นที่และ Manhole ระยะของพื้นที่รวมและแยก ไม่ตรงกัน อยากทราบว่าตัวเลขบนไซต์ คือ ระบุเกี่ยวกับขนาดของอะไร และต้องสร้างสิ่งปลูกสร้างคลุมฝาท่อโดยเว้นจุดตรงกลางไว้ใช่หรือไม่?

ทางทีมงานฯ ต้องขออภัยด้วยค่ะที่อัพเดทข้อมูลผิดพลาด ขอให้ใช้ข้อมูลขนาดพื้นที่จากไฟล์ที่ได้อัพโหลดขึ้นใหม่ซึ่งได้ไปเปลี่ยนจากภาพเดิมแล้วค่ะ

ส่วนการสร้างสิ่งปลูกสร้างคลุมฝาท่อนั้น สามารถออกแบบโดยเว้นระยะท่อ Manhole ไว้ หรือสร้างเป็นฝาเปิด-ปิดก็ได้ค่ะ หรือรูปแบบใดก็ได้ไม่ได้มีลักษณะตายตัว แต่ต้องคำนึงถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างสะดวกค่ะ

 

Updated: 20/11/2567

คลิปกับสไลด์ที่ใช้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการจะอัพโหลดไว้ที่ไหน?

คลิปบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Zoom recording) / คลิปวิดีโอชมพื้นที่จุฬาฯ ซอย 5 /เอกสารประกอบการประชุม และภาพบรรยากาศการประชุม ได้อัพโหลดไว้ที่เว็บไซต์ของศสอ. แล้วค่ะ https://hsm.chula.ac.th/website/hsmdesigncontest/

สิ่งปลูกสร้างควรจะสร้างอยู่ในซอยติดถนนเลยหรือไม่? หรือผู้สมัครสามารถเลือกบริเวณอื่นที่อยู่ในซอยเดียวกันได้?

พื้นที่ก่อสร้างจะต้องเป็นพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น สามารถดูพื้นที่จาก Google map ได้จากลิงค์ https://maps.app.goo.gl/YFBBu6fWU4dqRBXBA โดยไม่สามารถเลือกพื้นที่อื่นได้ค่ะ

หากมีคำถาม/ข้อสงสัยสำหรับผลิตภัณฑ์ สามารถโทรหรืออีเมล์สอบถามได้หรือไม่?

หากมีคำถาม ผู้สมัครสามารถส่งอีเมล์มาสอบถามได้ในช่วงระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม 2567 ตามรายละเอียดที่แจ้งให้ผู้สมัครทุกท่านทราบผ่านทางอีเมล์ว่าทางทีมผู้จัดฯ จะตอบข้อสงสัยโดยอัพเดทในวันพุธที่ 20 และวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เท่านั้นค่ะ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้สมัครทุกท่านอย่างโปร่งใสและเท่าเทียมกัน

ความสูงของสิ่งปลูกสร้าง สูงได้เท่าไหร่?

ความสูงรวมของสิ่งปลูกสร้างควรจะไม่เกิน 3.50 เมตร

ผนังยิปซัมสามารถออกแบบความหนาให้น้อยหรือมากกว่า 10 เซนติเมตรได้หรือไม่?

ได้ค่ะ ทั้งนี้ต้องการให้ผู้สมัครทุกท่านคำนึงถึงความปลอดภัยในการออกแบบและใช้งานเป็นหลัก สำหรับผนังยิปซัมสามารถผลิตได้ในหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นจะต้องออกแบบตามขนาดที่กำหนดไว้เท่านั้น

ขนาดของ Manhole ที่อยู่บนพื้นผิวมีขนาดเท่าไหร่?

เนื่องจากมี Manhole สำหรับการบำรุงรักษาอยู่บนพื้นที่จะทำการก่อสร้าง โดยมีขนาดดังรูปที่แสดงด้านล่างนี้ ซึ่งผู้สมัครจะต้องออกแบบสิ่งปลูกสร้างให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้งาน Manhole ได้

การส่งผลงานจะส่งอย่างไร?

ผู้สมัครทุกท่านสามารถสามารถส่งผลงาน Conceptual Design ได้จนถึงเวลา 23.59 น. ของวันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 มาทางอีเมล์ jansajee.t@chula.ac.th โดยระบุชื่อทีมและชื่อสมาชิกทุกคนของทีมไว้ในเนื้อหาของอีเมล์ด้วยค่ะ โดยไฟล์ที่ส่งจะต้องมีรูปแบบเป็นไฟล์สกุล jpeg ความละเอียด 300 dpi

การประกาศผล ?

การประกาศผล จะประกาศผ่านทางเว็บไซต์ ศสอ.

https://hsm.chula.ac.th/website/hsmdesigncontest/ หรือ

Facebook: https://www.facebook.com/HazardousSubstanceManagement เท่านั้น

ในรอบแรก จะประกาศผลการตัดสิน Conceptual Design ในวันที่ 9 ธันวาคม 2567

Updated: 22/10/2567

นักศึกษาที่สามารถสมัครโครงการจำกัดแค่ ป.ตรี หรือไม่ ?

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้จะต้องศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรีเท่านั้นค่ะ

พอจะปักหมุด หรือมีรูปภาพพื้นที่ที่ต้องออกแบบให้ได้หรือไม่ ?

เบื้องต้นที่ตั้งจะอยู่บริเวณจุฬา ซอย 5 https://maps.app.goo.gl/YFBBu6fWU4dqRBXBA และจะมีการยืนยันพื้นที่ในการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถ้าในทีมสาขาเดียวกันทั้งหมด จะอนุโลมได้หรือไม่ ?

เนื่องจากทางผู้จัดประกวด เล็งเห็นถึงความสำคัญในดำเนินงานแบบบูรณาการซึ่งมีความจำเป็นเป็นอย่างมากในอนาคต จึงได้มีเกณฑ์สำหรับการสมัครระบุไว้ว่ามากกว่า 1 สาขาวิชา ซึ่งหมายถึง

  • คณะเดียวกัน แต่คนละภาควิชาก็ได้ หรือ
  • คณะ/ภาควิชาเดียวกัน แต่คนละมหาวิทยาลัยก็ได้ หรือ
  • ต่างคณะจากมหาวิทยาลัยเดียวกันก็ได้

ถ้าในทีมมาจากต่างมหาวิทยาลัยได้หรือไม่ ?

ได้ค่ะ เพิ่มเติมจากคำตอบของข้อคำถามที่ 3

สอบถามเรื่องคุณสมบัติของทีมที่ระบุไว้ว่า ในแต่ละทีมต้องมีมากกว่า 1 สาขาวิชา หมายถึงเป็นสาขาในคณะ หรือว่าหมายถึงมีมากกว่า 1 คณะเลย ในกรณีที่สมาชิกในทีมมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งหมด แต่คนละสาขาวิชาได้ไหม ?

ได้ค่ะ เพิ่มเติมจากคำตอบของข้อคำถามที่ 3

สามารถระบุสถานที่ที่แน่ชัดของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ได้หรือไม่?

เบื้องต้น กำหนดสถานที่ คือ ภายในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 วันเต็ม โดยจะเป็นการจัดประชุมแบบไฮบริด สำหรับผู้สมัครที่อยู่ต่างจังหวัดและไม่สามารถเข้าร่วมแบบออนไซต์ได้ ทั้งนี้ขอให้พิจารณาการเข้าร่วมแบบออนไซต์ก่อนเป็นลำดับแรก (ที่นั่งมีจำนวนจำกัด)

คุณสมบัติผู้สมัคร

เป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาในสาขาต่อไปนี้

  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • มัณฑนศิลป์ / ออกแบบภายใน / ศิลปกรรมศาสตร์
  • หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ทีมละ 3 คน (ในแต่ละทีมจะต้องมีมากกว่า 1 สาขาวิชา)
  • สามารถเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ได้

เอกสารประกอบการสมัคร (กติกา เงื่อนไข กิจกรรม และเกณฑ์การตัดสิน)

โครงการการประกวดออกแบบพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนโดยการใช้ผนังยิปซัมจากของเสียอุตสาหกรรม

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึงการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คงอยู่เพื่อต่อยอดสู่อนาคตและตอบสนองต่อความต้องการของคนในปัจจุบัน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งครอบคลุมใน 3 มิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทอินทรี ซุปเปอร์บล็อก จำกัด และบริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ “การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ” ในการนำร่องจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผนังยิปซัมจากแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้วในงานสถาปนิก’67 ในระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดจนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อเป็นการต่อยอดและผลักดันให้เกิดการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์และแนวคิดดังกล่าว ศสอ. และหน่วยงานภาคีได้จัดโครงการ “การประกวดออกแบบพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนโดยการใช้ผนังยิปซัมจากของเสียอุตสาหกรรม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพของนิสิต/นักศึกษาโดยใช้หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ตลอดจนเป็นพื้นที่อ้างอิง (Reference site) สำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการใช้งานผนังยิปซัม

โปสเตอร์