ที่มาและความสำคัญ
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งในปัจจุบันมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสารอันตรายและโลหะหนักหลายชนิด หากมีการรั่วไหลจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเมื่อผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ดังกล่าวไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป สำหรับประเทศไทยยังไม่มีมาตรการจัดเก็บ การรวบรวม การคัดแยก การถอด ชิ้นส่วนและการกำจัดซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นระบบ ทำให้การถอดแยกชิ้นส่วนเสี่ยงต่อการเกิดการรั่วไหลของสารพิษต่างๆ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีการศึกษา แนวปฏิบัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมในรูปแบบผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ดำเนินงาน ร่วมกันโดยมีองค์กรกลาง (Clearing House) บริหารจัดการระบบ
ผลการดำเนินโครงการ
ผลการศึกษาพบว่าแนวทางที่จะทำให้เกิดการดำเนินการตามกลไกจำเป็นต้องอาศัยระบบติดตามซากผลิตภัณฑ์ฯ หรือระบบ Digital WEEE Manifest ที่จะเริ่มติดตามซากผลิตภัณฑ์ฯ จากผู้บริโภคไปยังศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การจัดส่งด้วยตนเองหรือซาเล้ง เป็นต้น จากนั้นผู้ขนส่งจะรับซาก ผลิตภัณฑ์ฯ จากศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ มายังโรงงาน ถอดแยก ซึ่งจะมีวัสดุหลักบางส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิล เช่น จอซีอาร์ที และโพลียูริเทนโฟม จึงควรเพิ่มแนวทางการนำซาก ผลิตภัณฑ์ฯ ดังกล่าวเข้าสู่ระบบติดตามซากผลิตภัณฑ์ฯ เพื่อให้มีการรีไซเคิลวัสดุและการจัดการของเสียขั้นสองอย่างถูกต้อง
ผลกระทบต่อสังคม
มีการสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชน รวมถึงการสร้างเครือข่าย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์