ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดโจทย์วิจัยด้านการจัดการของเสียชุมชน” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 โดยเป็นการประชุมแบบ online และ on-site ณ ห้องประชุมกรรณิการ์ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยส์ ในการประชุมดังกล่าวมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย เข้าร่วมประชุมจำนวน 70 คน โดยมีการนำเสนอภาพรวมการดำเนินงาน แนะนำประธานกลุ่มของเสียชุมชน และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งร่วมกันระดมความคิดเห็นสร้างโจทย์วิจัยตามกรอบแนวทางยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการขยายผลการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียชุมชนให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการจัดการของเสียชุมชนต่อไป
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินงานโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดโจทย์วิจัยด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ” ประชุมรูปแบบผสม (Hybrid) ประชุม Online ผ่านระบบ ZOOM meeting และ on-site ณ ห้องประชุม 1 ศสอ.ชั้น 8 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ กรมปศุสัตว์ บริษัทอัคคีปราการ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร โดยในการประชุมได้ชี้แจงภาพรวมการดำเนินงาน แนะนำประธานกลุ่มและผู้เชี่ยวชาญ และร่วมระดมความคิดเห็นสร้างโจทย์วิจัยตามกรอบแนวทางยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศ พร้อมทั้งพลักดันให้เกิดการขยายผลการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน
♻️❄️🌏 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนิน “โครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี ภายใต้กองทุนนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมทำความเย็น (EGAT Cooling Innovation Fund: CIF)” พร้อมทั้งนักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมด้วยภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด และบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาและออกแบบแนวทางการรวบรวมซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น โดยมีการนำเทคโนโลยีการใช้ระบบติดตามซากฯ ที่ได้พัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นที่จะนำไปสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาเปิดตัวโครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซาก เครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี
🗓️ ในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566
🕢 เวลา 08.30 – 12.00 น.
📍 ณ ห้องทิพวรรณ 1 ชั้น Lobby อาคาร West Wing โรงแรมแกรนด์ริชม่อนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี
**Hilight**
💚 ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บทบาทของอุตสาหกรรมการทำความเย็น
กับการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์”
💚 การเสวนาวิชาการเรื่อง “กลยุทธ์การจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น เพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม”
โดยผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถ Scan QR Code ดูรายละเอียดกำหนดการ และลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย‼️)
พร้อมรับถุงผ้าร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมในวันงาน (จำนวนจำกัด)
♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️♻️
เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา โครงการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Climate Action Programme for the Chemical Industry: CAPCI) ได้จัดการประชุมกรอบการพัฒนาแผนที่นำทางอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบาย สถานการณ์ และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเคมี พร้อมนำเสนอร่างกรอบการจัดทำแผนที่นำทาง รวมทั้งรับฟังความเห็นจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกรอบและแนวทางในการจัดทำแผนที่นำทาง รวมทั้งหารือถึงศักยภาพ ความต้องการการสนับสนุนในการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งในส่วนของมาตรการในภาค IPPU ภาคพลังงาน และภาคของเสีย โดยข้อมูลที่ได้จากการประชุมจะถูกนำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงร่างกรอบและสาระในแผนที่นำทางฯ ซึ่งกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อร่างแผนที่นำทางฉบับสมบูรณ์ในต้นปี พ.ศ. 2567
.
อุตสาหกรรมเคมีได้ชื่อว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายประเภท จากข้อมูลบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (IPPU) ปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่มีการรายงานของประเทศไทยพบว่าอุตสาหกรรมเคมีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณ 13 ล้านตันคาร์บอนฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 35 ของการปล่อยทั้งหมดในภาค IPPU
.
กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์รวมถึงการจัดการพลังงานและของเสียในภาคอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทั้งประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความสำคัญของอุตสาหกรรมเคมี จึงได้ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ในการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (CAPCI) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อยกระดับศักยภาพการดำเนินการอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนและปกป้องสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ในส่วนของกระบวนการผลิต ตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรม
.
การจัดทำแผนที่นำทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งภายใต้ความร่วมมือฯ โดยมีศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ โดยตั้งเป้าให้แผนที่นำทางฉบับนี้เป็นตัวแทนและสะท้อนถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเคมี และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับองค์กรต่อไป
.
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมฯ และผลการหารือจากการประชุมกลุ่มย่อยได้ที่นี่ https://www.thai-german-cooperation.info/…/Photodocumen…
.
.
.
The Climate Action Programme for the Chemical Industry (CAPCI) project conducted a framework meeting on 20 September 2023, in order to develop a national roadmap for sustainable chemicals and climate change. The objective is to share information regarding climate change policies, current situations, and implementation plans related to the chemical industry, providing an outline for the draft roadmap, including exchanging perspectives with key players in the private sector and associated agencies, as well as the potential mitigation actions and need for assistance in mitigating greenhouse gas emissions through IPPU, energy, and waste. By using the information obtained from the meeting, HSM will prepare the final draft roadmap to be ready for final consultation around the beginning of 2024.
.
The chemical industry is regarded as a significant component of the country’s economic system. Because it is the foundation for many downstream industries. According to Thailand’s greenhouse gas emissions accounting statistics in IPPU sector in 2019, the most recent year of reporting in Thailand, the chemical industry had 13 million tCO2eq of greenhouse gas emissions. This accounts for roughly 35% of overall emissions in the IPPU industry.
.
Department of Industrial Works, which is the primary agency in charge of pushing policy on climate change in the industrial sector, particularly from IPPU, as well as energy and waste management in the industrial sector, recognises the significance of these challenges. The importance of the chemical industry in the face of climate change. Hence, in cooperation with GIZ, it is implementing the CAPCI project, which has received financing from the Federal Republic of Germany to boost its potential to operate a sustainable and climate-friendly chemical industry from the manufacturing process all the way through the value chain.
.
Therefore, developing a national roadmap for sustainable chemical and climate change is one of the activities associated with the collaboration, as is the technical assistance from the Centre of Excellence for Hazardous Waste Management (HSM) at Chulalongkorn University. This roadmap will represent and reflect the joint vision and goals of all stakeholders, especially industry, which will play an essential role in driving organisational levels.
.
Input presentations and the summary of key discussions can be downloaded here: https://www.thai-german-cooperation.info/…/Photodocumen…
♻️🌏 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ซึ่งดำเนินงานโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงาน การสร้างฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ และการกำหนดทิศทางงานวิจัย โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนหน่วยงานต่างๆ จากหลายภาคส่วนเข้าร่วมการประชุมและเป็นประธานคณะทำงานของแต่ละกลุ่มประเภทของเสีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและดำเนินงานของศูนย์รวบรวมฯ พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของการจัดการของเสีย
🏭💻☣️ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Hub of Waste Management for Sustainable Development ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อผลักดันให้เกิดฐานข้อมูลสำหรับการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียอย่างครบวงจรจากภาคส่วนต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กากอุตสาหกรรม ขยะชุมชน ของเสียอิเล็กทรอนิกส์ มูลฝอยติดเชื้อ และขยะพลาสติก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือระหว่าง นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการของเสียทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ครอบคลุมทั้งภาคการศึกษา ภาครัฐ เอกชน อุตสาหกรรมและการบริการ รวมทั้งภาคประชาสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการจัดการของเสียที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน
♻️🏭❄️วันที่ 28 กันยายน 2566 คุณสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และทีมคณะวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมงานฝึกอบรมทีมช่างในการเก็บกู้สารทำความเย็น โดยดำเนินการร่วมกับบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด และบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจกับทีมช่าง ในการจัดการอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การจัดการอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี สนับสนุนโดยกองทุน Cooling innovation fund การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ศสอ. ได้รับทุนวิจัยในหัวข้อเรื่อง Possible Consequences of Leave-in-Place Decommissioned Structures: Subsea Pipelines Corrosion
เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นางสาวมุทิตา วิเลปสุวรรณ นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้ร่วมงาน Bangkok Design Week 2023, Powered by PechaKucha โดยขึ้นเวทีทอล์กในธีม ‘Meet (urban) nice people’ สมรภูมิความครีเอทีฟกับการต่อยอดไอเดียเมือง-มิตร-ดี กับ PechaKucha ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่โดยกำหนดจำนวนรูปภาพและเวลาให้อยู่ในจำนวน 20 รูปภาพ x 20 วินาที ที่จะช่วยส่งต่อแรงบันดาลใจในการทำตัวเป็นมิตรให้เมืองน่าอยู่กว่าเดิม ณ Function Room ชั้น 4 TCDC กรุงเทพฯ, ทั้งนี้ น.ส.มุทิตาได้นำเสนอในหัวข้อเรื่องธีมนี้ โดยมีใจความสำคัญ คือ “บางทีพลาสติกอาจจะไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่เป็นพวกเราเองหรือเปล่าที่ใช้มันอย่างไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ฉะนั้นการเปลี่ยนวิธีใช้อาจจะสำคัญมากกว่าการเลือกใช้ เราควรเลือกใช้สิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุดก่อน”