การอบรมออนไลน์ เรื่อง “การจัดทำเอกสาร SDS” โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยหลักการจัดการสารเคมี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าลงทะเบียนต่อท่าน : 4,900 บาท ** กรุณาชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 15 กันยายน 2565
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในระบบ GHS และสามารถจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบ GHS ได้
- เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้อง สอดคล้องกันของข้อมูลใน เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ได้
- เพื่อให้สามารถจัดทำ SDS ได้อย่างถูกต้องตามระบบ GHS
เนื้อหาการอบรม :
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
- ความเป็นมา
- องค์ประกอบของระบบ GHS
- เอกสารอ้างอิง GHS
- การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี – Chemical hazards classification –
- ประเภทความเป็นอันตราย
- การจำแนกความเป็นอันตรายและฉลากของสารเคมีตามระบบ GHS
- การจัดทำ SDS
- SDS คืออะไร มีลักษณะอย่างไร
- แหล่งสืบค้นข้อมูล
- ฝึกปฏิบัติการจัดทำ SDS
คณะวิทยากร :
- ดร. ขวัญนภัส สรโชติ ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- จุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์ ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชนัญญา เพิ่มชาติ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วลัยพร มุขสุวรรณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการจัดอบรม : ระยะเวลาที่เปิดให้เข้าเรียน/อบรม 5 วัน ดังนี้
รุ่นที่ 3 : วันที่ 19-23 กันยายน 2565
ศสอ. ได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีแถลงข่าวงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2565 หรือ “TechnoMart 2022” ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันพุธที่ 13 กันยายน 2565 ณ ลิฟวิ่ง ฮอล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ในช่วงท้ายของพิธีแถลงข่าวดังกล่าว นอกจากนั้น ประธานในพิธี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหน่วยจัดงาน ได้เยี่ยมชมตัวอย่างผลงานการจัดแสดงของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ที่จะนำมาจัดแสดงจริงในวันที่ วันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ภายใต้แนวคิด BCG สู่เศรษฐกิจ สร้างคุณค่า “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ทั้ง 2 รูปแบบ (Hybrid Exhibition) ดังนี้
รูปแบบ Onsite ตั้งแต่ วันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และบริเวณทางเชื่อมศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์
รูปแบบ Online ที่ https://www.technomart2022.com และhttps://www.facebook.com/TechnoMartThailand/ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 28 พฤศจิกายน 2565
ข้อมูลโดย :
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทร. 02-333-3927
ศสอ.ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมจาก สป.อว. กองส่งเสริมและประสานงานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เมื่อวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุม 207 ชั้น 2 อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จัดการประชุมนำเสนอ “ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย” ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย : การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2
📆 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.
📍ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพฯ
✅ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. และผู้บริหารแผนงานวิจัยฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนำเสนอผลการวิเคราะห์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ จากนั้น ดร.ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ หัวหน้าโครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ ตามด้วย การนำเสนอความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดย ผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ
✅ ปิดท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมประชุม
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 14.30 – 16.00 น. คณะผู้ตรวจเยี่ยม จากสำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมให้ความเห็นต่อ “โครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย” แผนงานวิจัยท้าทายไทย: การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพ โดยมี รศ.ดร. สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. เป็นประธานการประชุม โดยได้กล่าวถึงภาพรวมโครงการและผลการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….. โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมนำเสนอให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็น อาทิ รศ.ดร. ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ อ.ดร. ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดร. ชาคริต สิทธิเวช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ คุณเชาว์ลิต แจ้งอักษร ผอ.ส่วนพัฒนากฎหมาย และคุณธนวิทย์ พลไทยสงค์ นิติกร จากกรมควบคุมมลพิษ มาร่วมให้ข้อเสนอแนะและรายงานความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….. และได้รับเกียรติจากคุณประโชติ กราบกราน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ร่วมหารือเพื่อสร้างแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ในภาพรวม
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (วส.) จัดเสวนา Safety Talk ครั้งที่ 1 เรื่อง Workplace Health and Safety in the University เพื่อเป็นการสื่อสารเชิงรุก ให้นิสิต บุคลากรและผู้สนใจทราบถึงปัญหา ความสําคัญของการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการเรียน การสอน การวิจัย การทํางานในมหาวิทยาลัย และสามารถนําประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาของสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในบริบทของส่วนงานของตนได้ต่อไป กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร และบุคลากรในมหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ นี้โดยท่านสามารถลงทะเบียนเข่าร่วมกิจกรรมได้ทาง https://bit.ly/3NdAALF
ขณะนี้สังคมออนไลน์ได้โพสต์คลิปเกี่ยวกับการสกัดทองคำจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการต่างๆ ประกอบกับเป็นช่วงที่ราคาทองที่สูงขึ้นมาก ทำให้คลิปดังกล่าวได้รับความนิยมในการรับชมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิธีการสกัดทองคำจากแผงวงจรโทรศัพท์มือถือ โดยอาจจะใช้การเผาหรือหลอม ใช้กรดกัดกร่อน ใช้สารประกอบไซยาไนด์ ซึ่งวิธีเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาชิ้นส่วนพลาสติกแผงวงจรที่มีส่วนผสมของสารหน่วงไฟ (โบรมีน) เป็นองค์ประกอบ อาจทำให้เกิดอนุพันธ์ของสารกลุ่มไดออกซินและฟิวแรนที่เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งถือเป็นสารตกค้างที่ยาวนานปนเปื้อนในอากาศได้ ส่วนกรดที่ใช้เป็นสารกัดกร่อน ต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพราะอาจมีการปนเปื้อนโลหะหนักชนิดต่างๆ เช่นเดียวกันกับสารไซยาไนด์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งกระบวนการสกัดทองคำดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดสารอันตรายประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีโลหะมีค่าหลายชนิด เช่น ทองแดง ทองคำขาว เงิน เหล็ก นิกเกิล รวมถึงอลูมิเนียม เป็นต้น จากรายงานแผงวงจรทั่วไป (ทุกประเภท) เฉลี่ยมีทองคำเป็นองค์ประกอบอยู่ 0.004–0.02% หากมีการสกัดโดยวิธีที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คุณสมบัติที่โดดเด่นของทองคำจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดี มีความยืดหยุ่น และไม่เกิดสนิม จึงมีการนำทองคำมาใช้เป็นส่วนประกอบของแผงวงจรในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิด เนื่องจากทองคำมีความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าสูง (รองลงมาจากทองแดงและเงิน) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทองคำบริสุทธิ์น้อยลง จากเดิมใช้ทองคำบริสุทธิ์ทั้งชิ้นเปลี่ยนเป็นการชุบเคลือบผิววัสดุที่หนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
แม้ว่าในปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่แสดงให้เห็นอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีความพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อจะแก้ไขปัญหานี้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ผลิตถึงการกำจัด ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายโดยผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น การสร้างจิตสำนึกจากหลายๆโครงการผ่านการสนับสนุนจากทางหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ ค่ายโทรศัพท์มือถือ รวมถึงโครงการจุฬารักษ์โลก โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 12 ที่ดำเนินการรับบริจาคโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งการบริจาคโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตจำนวน 1 เครื่อง โครงการจุฬาฯรักษ์โลกและTES (ผู้รับกำจัดและรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) จะเปลี่ยนเป็นเงินบริจาค 10 บาท เข้า“กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ(CU Cancer Immunotherapy Fund)” สำหรับสนับสนุนการวิจัยด้านการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลืองานวิจัยแล้ว ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ระหว่างรอให้ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม