ศสอ-HSM (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย)
📢 ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนา การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน
✨จากกรณีศึกษา 3 เรื่องที่น่าสนใจ✨
🧩 เถ้าจากโรงไฟฟ้าขยะ
🧩 เม็ดพลาสติกรีไซเคิล
🧩 ขยะอิเล็กทรอนิกส์
🕘 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM
📃 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโดยแสกน QR CODE จากโปสเตอร์ หรือ https://docs.google.com/…/1FAIpQLScOchKbuhIY5a…/viewform
📞 ติดต่อสอบถามผ่านเพจ facebook WASTE Talk สนใจสมัครเลย
ด้วยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการ Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities
จากกรณีเหตุเพลิงไหม้โรงงานพลาสติกที่ย่านบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเวลาหลายชั่วโมงตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 5 กรกฎาคม ต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม
ซึ่งเป็นเหตุให้ถังสารเคมีในโรงงานที่มีอยู่พันกว่าตันบางส่วนเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงก่อให้เกิดผลกระทบจากมลพิษและมลสารที่ฟุ้งกระจายออกไปเป็นวงกว้าง หลายกิโลเมตร ในเรื่องนี้นักวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดเสวนาออนไลน์แบบเร่งด่วนขึ้น เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคมที่ผ่านมา ในหัวข้อ “เปิดมุมมองวิศวกรรมเพื่อป้องกันและรับมืออุบัติเหตุสารเคมีในอนาคต” โดยมีผู้ร่วมเสวนาจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ ซึ่งในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับ “งานที่ต้องทำภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการระงับเหตุเพลิงไหม้โรงงานพลาสติก ตั้งแต่การคัดแยก บำบัดและกำจัดของเสียอันตรายอย่างถูกวิธี” โดยสรุปได้ดังนี้
“เหตุการณ์ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ มีทีมงานจากหลากหลายหน่วยงานเข้าร่วมระงับเหตุเมื่อเหตุการณ์สงบและเริ่มคลี่คลายลง ยังคงมีกลุ่มคนอีกหลายหน่วยงานที่จะต้องเข้ามาจัดการกับปัญหาด้านมลพิษทั้งในที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ ยกตัวอย่างเช่น โฟมที่ใช้ในการดับเพลิงสารเคมีที่รั่วไหลปนเปื้อนจำนวนมาก ยังไม่รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการดับเพลิงซึ่งวัสดุเหล่านี้เป็นของเสียอันตราย จะต้องได้รับการคัดแยก นำไปบำบัด และกำจัดอย่างถูกวิธี
นอกจากนี้ ในการเฝ้าระวังเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะต้องมีการบูรณาการความร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ อาทิ การบูรณาการด้านข้อมูลที่มีการจัดทำและจัดเก็บแยกในแต่ละหน่วยงานโดยต้องมีการแบ่งปันข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในกรณีมีเหตุการณ์สารเคมีหรือสารอันตรายเกิดการรั่วไหลขึ้น รวมทั้ง ต้องมีการ Monitor เรื่องความปลอดภัยซึ่งจะต้องทำอย่างจริงจังรวมถึงการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registration) หรือ PRTR โดยโจทย์ที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอีกด้านคือ ข้อกำหนดกฏหมายซึ่งบางครั้งการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย ต้องใช้ระยะเวลายาวนานและมักไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น”
เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา เวลา 13.30-15.45 น. สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ได้จัดเสวนาแบบไลฟ์สด “Why วิศวะ?” ในหัวข้อ “วิศวกรยุคดิสรัปชันกับทางรอดของโลก”
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี จากรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์ว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 656,651 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 1.6) โดยเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 428,113 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 65 ของของเสียอันตรายทั้งหมด) แต่เนื่องด้วยการจัดการไม่มีระบบการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่บ้านเรือนจนถึงปลายทาง ส่งผลให้ปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 รศ.ดร. สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. ได้รับเชิญเข้าร่วมพูดคุยในรายการ Mission E-waste(sible) ตอนที่ 1 ซึ่งรายการนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการการจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท AIS (e-waste Green network) ที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากการทิ้ง “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” อย่างไม่ถูกวิธี โดยร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วนเพื่อรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธีและยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ตกค้างในไทย ทั้งนี้ รศ.ดร. สุธา ขาวเธียร ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของ E-waste ว่ามาจากปริมาณการใช้งานที่สูงมากในปัจจุบัน ทำให้เกิดขยะจำนวนมหาศาล และข้อสำคัญขยะเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ โดยไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ในขณะที่บางส่วนถูกซุกเก็บไว้ตามบ้านเรือน และบางส่วนถูกทิ้งรวมไปกับขยะชุมชน ทำให้มีขยะจำนวนน้อยที่สามารถนำมา Recycle เพื่อนำวัสดุมีค่ากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ แม้ว่าจะมีผู้คัดแยกและรวบรวมหลายกลุ่ม ทั้งที่เป็นบุคคลและองค์กร รวมทั้งมีจุดรวบรวมหลายที่ แต่ยังขาดกลไกการมีส่วนร่วมเพื่อให้ขยะเหล่านี้ถูกทิ้ง ณ จุดรวบรวมที่จัดไว้อย่างถูกต้องและมากที่สุด อันจะนำไปสู่ระบบการ Recycle อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณ
ผลจากความพยายามอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบำบัดสารอันตรายที่ตกค้างในพื้นที่การเกษตร และการฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ของศาสตราจาร์ ดร. อลิสา วังใน และทีมวิจัยหน่วยปฏิบัติการด้านตัวเร่งชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 คณะอาจารย์และนิสิต ภาคธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน ซึ่งนำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกลวรรณ ชาวไชย ได้เข้าชมการสาธิตการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์