ผ่านพ้นไปแล้วกับกิจกรรม งาน Technomart 2022 งานแสดงผลงานวิจัยพร้อมใช้ เทคโนโลยีนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นโดยฝีมือคนไทย ภายใต้ Concept “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เมื่อวันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา
การจัดงานครั้งนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้รับเกียรติในการจัดกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “นวัตกรรมสีเขียว…คืนคุณภาพชีวิต สู่สิ่งแวดล้อมยั่งยืน Go Green with HSM … for Better Life” และนำผลงานวิจัยไปจัดแสดงดังนี้
• เรื่อง “เอนไซม์ล้างผักและผลไม้ (M-Green)”
• เรื่อง “แผ่นกรองจากถ่านชีวภาพผสม ZnO”
• เรื่อง “MicroClear ชีวภัณฑ์กำจัดขยะพลาสติก”
• เรื่อง “ระบบติดตามขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว”
💚 ศสอ. ขอขอบพระคุณ สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( PERDO ) รวมถึงอาจารย์และนักวิจัยทุกท่านที่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมดีๆ เพื่อช่วยพลิกโฉมประเทศไทย สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน และที่สำคัญได้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถรับชมบรรยากาศในงาน กิจกรรมเสวนาและการจัดแสดงผลงานทางวิชาการจากศูนย์ความเป็นเลิศฯทั้ง 11 ศูนย์ได้ที่ 👉 https://web.facebook.com/profile.php?id=100080676248430

👏 ศสอ. ได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีแถลงข่าวงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2565 หรือ “TechnoMart 2022” ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันพุธที่ 13 กันยายน 2565 ณ ลิฟวิ่ง ฮอล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

📷ในช่วงท้ายของพิธีแถลงข่าวดังกล่าว นอกจากนั้น ประธานในพิธี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหน่วยจัดงาน ได้เยี่ยมชมตัวอย่างผลงานการจัดแสดงของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ที่จะนำมาจัดแสดงจริงในวันที่ วันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ภายใต้แนวคิด BCG สู่เศรษฐกิจ สร้างคุณค่า “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

📌สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ทั้ง 2 รูปแบบ (Hybrid Exhibition) ดังนี้
📅รูปแบบ Onsite ตั้งแต่ วันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และบริเวณทางเชื่อมศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์
💻รูปแบบ Online ที่ https://www.technomart2022.com และhttps://www.facebook.com/TechnoMartThailand/ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 28 พฤศจิกายน 2565

🙏ข้อมูลโดย :
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทร. 02-333-3927

ศสอ.ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมจาก สป.อว. กองส่งเสริมและประสานงานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เมื่อวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุม 207 ชั้น 2 อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จัดการประชุมนำเสนอ “ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย” ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย : การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2
📆 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.
📍ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพฯ
✅ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. และผู้บริหารแผนงานวิจัยฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนำเสนอผลการวิเคราะห์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ จากนั้น ดร.ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ หัวหน้าโครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ ตามด้วย การนำเสนอความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดย ผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ
✅ ปิดท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมประชุม

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมให้ความเห็นต่อ “โครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย” แผนงานวิจัยท้าทายไทย: การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพ โดยมี รศ.ดร. สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. เป็นประธานการประชุม โดยได้กล่าวถึงภาพรวมโครงการและผลการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….. โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมนำเสนอให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็น อาทิ รศ.ดร. ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ อ.ดร. ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดร. ชาคริต สิทธิเวช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ คุณเชาว์ลิต แจ้งอักษร ผอ.ส่วนพัฒนากฎหมาย และคุณธนวิทย์ พลไทยสงค์ นิติกร จากกรมควบคุมมลพิษ มาร่วมให้ข้อเสนอแนะและรายงานความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….. และได้รับเกียรติจากคุณประโชติ กราบกราน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ร่วมหารือเพื่อสร้างแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ในภาพรวม

ขอเชิญผู้สนใจร่วมเปิดตัวโครงการ “ความร่วมมือกลไกใหม่ในการจัดการ E-WASTE เมืองพัทยา”
📆ในวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม เวลา 08.30 – 11.30 น.
🏛ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา อ. บางละมุง จ. ชลบุรี หรือ
🎥รับชมผ่าน Facebook Live Page Waste Talk
💻หรือโปรแกรม Zoom Meeting ID : 916 1713 8865 Password : 979775
📝ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่าย) และศึกษากำหนดการได้โดยสแกน QR Code ด้านล่าง
♻️⛱ โครงการนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ร่วมกับเมืองพัทยา มหาวิทยาลัยบูรพา และเครือข่าย เพื่อศึกษาต้นแบบความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทานของซากผลิตภัณฑ์ฯ ประเภทตู้เย็น ตามหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต และรูปแบบของมาตรการที่จะใช้กับเมืองพัทยา เพื่อสร้างมูลค่าส่วนเพิ่ม (ลดต้นทุนของระบบ) ในโครงการ รวมถึงการจัดทำเครื่องมือติดตามขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัล (Digital WEEE Manifest, DWM) ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานกับเมืองพัทยา โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (วส.) จัดเสวนา Safety Talk ครั้งที่ 1 เรื่อง Workplace Health and Safety in the University เพื่อเป็นการสื่อสารเชิงรุก ให้นิสิต บุคลากรและผู้สนใจทราบถึงปัญหา ความสําคัญของการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการเรียน การสอน การวิจัย การทํางานในมหาวิทยาลัย และสามารถนําประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาของสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในบริบทของส่วนงานของตนได้ต่อไป กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร และบุคลากรในมหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ นี้โดยท่านสามารถลงทะเบียนเข่าร่วมกิจกรรมได้ทาง https://bit.ly/3NdAALF

ขณะนี้สังคมออนไลน์ได้โพสต์คลิปเกี่ยวกับการสกัดทองคำจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการต่างๆ ประกอบกับเป็นช่วงที่ราคาทองที่สูงขึ้นมาก ทำให้คลิปดังกล่าวได้รับความนิยมในการรับชมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิธีการสกัดทองคำจากแผงวงจรโทรศัพท์มือถือ โดยอาจจะใช้การเผาหรือหลอม ใช้กรดกัดกร่อน ใช้สารประกอบไซยาไนด์ ซึ่งวิธีเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาชิ้นส่วนพลาสติกแผงวงจรที่มีส่วนผสมของสารหน่วงไฟ (โบรมีน) เป็นองค์ประกอบ อาจทำให้เกิดอนุพันธ์ของสารกลุ่มไดออกซินและฟิวแรนที่เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งถือเป็นสารตกค้างที่ยาวนานปนเปื้อนในอากาศได้ ส่วนกรดที่ใช้เป็นสารกัดกร่อน ต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพราะอาจมีการปนเปื้อนโลหะหนักชนิดต่างๆ เช่นเดียวกันกับสารไซยาไนด์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งกระบวนการสกัดทองคำดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดสารอันตรายประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีโลหะมีค่าหลายชนิด เช่น ทองแดง ทองคำขาว เงิน เหล็ก นิกเกิล รวมถึงอลูมิเนียม เป็นต้น จากรายงานแผงวงจรทั่วไป (ทุกประเภท) เฉลี่ยมีทองคำเป็นองค์ประกอบอยู่ 0.004–0.02% หากมีการสกัดโดยวิธีที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คุณสมบัติที่โดดเด่นของทองคำจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดี มีความยืดหยุ่น และไม่เกิดสนิม จึงมีการนำทองคำมาใช้เป็นส่วนประกอบของแผงวงจรในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิด เนื่องจากทองคำมีความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าสูง (รองลงมาจากทองแดงและเงิน) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทองคำบริสุทธิ์น้อยลง จากเดิมใช้ทองคำบริสุทธิ์ทั้งชิ้นเปลี่ยนเป็นการชุบเคลือบผิววัสดุที่หนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

แม้ว่าในปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่แสดงให้เห็นอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีความพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อจะแก้ไขปัญหานี้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ผลิตถึงการกำจัด ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายโดยผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น การสร้างจิตสำนึกจากหลายๆโครงการผ่านการสนับสนุนจากทางหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ ค่ายโทรศัพท์มือถือ รวมถึงโครงการจุฬารักษ์โลก โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 12 ที่ดำเนินการรับบริจาคโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งการบริจาคโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตจำนวน 1 เครื่อง โครงการจุฬาฯรักษ์โลกและTES (ผู้รับกำจัดและรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) จะเปลี่ยนเป็นเงินบริจาค 10 บาท เข้า“กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ(CU Cancer Immunotherapy Fund)” สำหรับสนับสนุนการวิจัยด้านการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลืองานวิจัยแล้ว ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ระหว่างรอให้ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา : https://news.ch7.com/detail/557158?fbclid=IwAR2k9Vea9vPpcxBsLWxePaywjQ0L0XnyxA8BTxJs_C4Wjt830VEAEmL0XIQ

ศสอ-HSM (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย)
📢 ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนา การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน
✨จากกรณีศึกษา 3 เรื่องที่น่าสนใจ✨
🧩 เถ้าจากโรงไฟฟ้าขยะ
🧩 เม็ดพลาสติกรีไซเคิล
🧩 ขยะอิเล็กทรอนิกส์
🕘 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM
📃 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโดยแสกน QR CODE จากโปสเตอร์ หรือ https://docs.google.com/…/1FAIpQLScOchKbuhIY5a…/viewform
📞 ติดต่อสอบถามผ่านเพจ facebook WASTE Talk สนใจสมัครเลย

ด้วยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการ Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities