มื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบอย่างยั่งยืนโดยใช้ผนังยิปซัมรีไซเคิลจากกากอุตสาหกรรม” ณ ห้องเรียน ชั้น 9 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอข้อมูลของผลิตภัณฑ์ผนังยิปซัมที่ผลิตจากกากอุตสาหกรรม แนะนำการติดตั้งและการใช้งาน รวมถึงแนวคิดและการออกแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และหลักการของ Circular Design โดยการประชุมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการการประกวดออกแบบพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนโดยการใช้ผนังยิปซัมจากของเสียอุตสาหกรรม ซึ่งมีนิสิต/นักศึกษาจาก 32 ทีม จาก 14 มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการประชุมแบบไฮบริด
โครงการการประกวดออกแบบพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนโดยการใช้ผนังยิปซัมจากของเสียอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่ ศสอ. ได้ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท อินทรี ซุปเปอร์บล็อก จำกัด บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการพัฒนาศักยภาพของนิสิต/นักศึกษาในการออกแบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการเป็นพื้นที่อ้างอิงสำหรับการใช้งานผนังยิปซัมที่ผลิตจากกากอุตสาหกรรม สำหรับการส่งเสริมแนวคิดและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

♻️🇹🇭 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ในงาน EnwastExpo 2024 ณ Amber 3, อิมแพ็ค เมืองทองธานี คุณสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ร่วมกับ คุณวิสูตร ชัชวาลวุฒิกุล รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้บรรยายในหัวข้อ “Intermediate Findings from Sandbox Project on Air Conditioner & Refrigerator Extended Producers Responsibility in Thailand” โดยนำเสนอสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้

🔶 แนวคิดและแรงผลักดันของภาคเอกชน ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

🔶ความก้าวหน้าของโครงการแซนด์บ็อกซ์ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตกรณีเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ซึ่งเป็นความร่วมมือของผู้ผลิต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน ในการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น เพื่อทดลองแนวทางการจัดการซากที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยโดยใช้หลักความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility – EPR) ซึ่งสนับสนุนสำหรับการจัดทำพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

🔶ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จคือการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยความโปร่งใส และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

🔶ความท้าทายในการดำเนินการ เช่น การดำเนินการธุรกิจ กฎหมาย ความรู้และเทคโนโลยี การติดตามตรวจสอบ และการสร้างความตระหนัก

🔶โอกาสของการดำเนินการ เช่น การสร้างธุรกิจสีเขียว การตอบสนองนโยบาย ข้อกำหนดของต่างประเทศ เพื่อขยายตลาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไป

การบรรยายครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ผลิต และการความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการผลักดันการใช้แนวคิดความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility – EPR) ในประเทศไทย เพื่อสร้างระบบการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

♻️🇺🇸 November 14, 2024, at EnwastExpo 2024 at Amber 3, IMPACT Muang Thong Thani, Mr. Surachai Leewattananukul, Assistant Director of the Center of Excellence on Hazardous Substance Management, together with Mr. Wisoot Chachvalvutikul, Vice Chairman Economic Affairs of Air Conditioning and Refrigeraion Industry Club, Federation of Thai Industry, delivered a presentation titled “Intermediate Findings from the Sandbox Project on Air Conditioner & Refrigerator Extended Producers Responsibility in Thailand.” Key points highlighted in the presentation included

➡️The concept and motivations of the private sector, emphasizing the importance of responsible, safe, and environmental sound management of electronic and electrical waste through active participation.

➡️Progress of the EPR Sandbox Project for waste air conditioners and refrigerators, a collaborative effort among producer and stakeholders in supply chain to trial effective and safer E-waste management, utilizing the Extended Producer Responsibility (EPR) approach. This initiative supports the development the (draft) WEEE Act of Thailand.

➡️Key Successes such as stakeholders engagement across all sectors involved—from manufacturers, distributors, and consumers to government and private organizations—emphasizing transparency and fair benefit-sharing.

➡️Challenges including business operations, legal aspects, knowledge and technology, monitoring, and public awareness.

➡️Opportunities such as creating green business initiatives, responding to national and international policies, and expanding the market for environmentally friendly products, which is increasing significantly.

This presentation emphasize the manufacturers and stakeholder in promoting the Extended Producer Responsibility (EPR) concept in Thailand, aiming to develop a sustainable and eco-friendly system for E-waste management

รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. ร่วมเสวนา “ปัญหาขยะอุตสาหกรรม : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” ✨ ร่วมกับ วิทยากรชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม ในงาน Environmental & Waste Management Expo (EnwasteExpo 2024) และ ศสอ. ได้ร่วมแสดงบูธ (A03) ในระหว่างวันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00-18.00 น. อาคาร 5-6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
งาน EnwasteExpo 2024 เป็นงานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการของเสียซึ่งชูแนวคิด “Join the movement towards a better planet” หรือ “ร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า” โดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อเรื่อง “Waste Utilization and End of Waste” ในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ ครั้งที่ 12 (The 12th International Conference on Materials Science and Technology: MSAT-12) ณ ห้องประชุมเอราวัณ 2 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมี ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน เป็นผู้ดำเนินรายการ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้เข้าร่วมจัดแสดงผลงานวิจัย “โครงการส่งเสริมการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวทางการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดมาใช้ลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจจากโรงงานหลอมเศษโลหะผ่านการปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานของเศษโลหะให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพื่อมุ่งสู่การจัดการอุตสาหกรรมแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ให้มีมาตรฐานในระดับสูง เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม และสามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้วัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม ในงาน Green Technology Expo 2024 ระหว่างวันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา Hall 101-102 ซึ่งจัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-จีน หรือ TSAST ร่วมกับ China Council of the Promotion for International Trade Shanghai และ Chinese Academy of Science, Innovation Cooperation center of Bangkok โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนโยบายของสหประชาชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน (SDG) และ Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy) เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

Kickstarting Thailand’s EPR Sandbox Project for Air Conditioners and Refrigerators

On October 25th, the Extended Producer Responsibility (EPR) Sandbox Project officially launched in Thailand with a workshop and on-site training at Asia Green Rescrap, our partner facility. ALBA was honored to participate as the appointed Producer Responsibility Organization (PRO) for this initiative, and the General Manager of ALBA Thailand, Khomphakhin Pattanachai, delivered the opening remarks and closing speech at the event.

Led by Chulalongkorn University’s Center of Excellence on Hazardous Substance Management (HSM), and supported by the Program Management Unit for Competitiveness (PMU-C) and co-sponsored by the National Research Council of Thailand (NRCT), the Sandbox Project brings together leading partners in the industry, including the Pollution Control Department (PCD), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | The Federation of Thai Industries (FTI), Khon Kaen University, Silpakorn University, Burapha University, the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), the Department of Industrial Works (DIW), and the Electrical and Electronics Institute. Together with ALBA, this group forms the working committee for Thailand’s EPR scheme focused on Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE).

The project aims to develop sustainable waste management for air conditioners and refrigerators, with four key objectives:

– Testing an organizational model to manage the entire waste process, from collection to disposal.
– Analyzing data on material flow, information, and costs according to EPR principles.
– Engaging stakeholders to optimize the supply chain and propose system enhancements.
– Developing online tools to ensure transparency, auditability, and accurate cost tracking within the EPR system.

This EPR Sandbox Project marks a significant step forward for Thailand in creating a sustainable framework for electronic waste management. We look forward to working closely with the dedicated working committee, bringing our extensive experience from Europe and Asia to support Thailand in building a robust and effective EPR system.

วันที่ 4 ตุลาคม 2567 คุณสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) เป็นผู้แทนเข้ารับมอบเกียรติบัตรและของที่ระลึก เพื่อแสดงว่า ศสอ. ได้สนับสนุนการจัดกิจกรรม “โครงการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จาก รองศาสตราจารย์ ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ณ อาคารสยามสเคป (SiamScape) ภายในงานมีการจัดกิจกรรมเสวนา ภายใต้ธีมงาน “ERIC Next Chapters” Igniting a Green Awakening ปลุกและปล่อยพลังสายกรีน จากผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ และ Green Influencers ชื่อดัง

วันที่ 3 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวาระวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม ครบรอบ 50 ปี พร้อมมอบของที่ระลึกแก่ รองศาสตราจารย์ ดร. พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม และร่วมลงนามแสดงความยินดีเนื่องในวาระการครบรอบดังกล่าว

เมื่อวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “สถานพยาบาลไทย: มุมมองใหม่ สู่การลดของเสียเพื่อความยั่งยืน” ณ ห้องแมนดาริน บี โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดย รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร หัวหน้าศูนย์ฯ ได้กล่าวเปิดงาน พร้อมกล่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมศูนย์ฯ ภายในงานสัมมนาได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรยายในประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งในด้านสถานการณ์มูลฝอยติดเชื้อ ความปลอดภัย ถอดความสำเร็จ และแนวทางการจัดการพลาสติก (ไม่ติดเชื้อ) ในสถานพยาบาล โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากร ดังนี้
• รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล ประธานกลุ่มมูลฝอยติดเชื้อ
• คุณประโชติ กราบกราน กรมอนามัย
• นายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
• นายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร จากรพ.น่าน
• ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล ประธานกลุ่มของเสียพลาสติก
การสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการจัดการของเสียพลาสติก (ไม่ติดเชื้อ) ในสถานพยาบาล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและยกระดับมาตรฐานการจัดการขยะในประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 60 ท่าน
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแนวทางการจัดการของเสียพลาสติก (ไม่ติดเชื้อ)ได้จากลิงก์ที่แสดงในความคิดเห็นแรกของโพสต์

🎉🎉 ศสอ. ร่วมแสดงความยินดีครบรอบ 36 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🎊🎊

วันที่ 24 กันยายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวาระวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ครบรอบ 36 ปี พร้อมมอบของที่ระลึกแก่ ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี และร่วมลงนามแสดงความยินดีเนื่องในวาระการครบรอบดังกล่าว