วันพุธที่ 26 มีนาคม 2568 เวลา 08.00 – 09.30 น. ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าพบ รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ณ ชั้น 8 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพูดคุยและสอบถามข้อมูลความรู้เกี่ยวกับขยะอันตรายและการจัดการอย่างถูกวิธีในประเด็นต่างๆ ตั้งแต่ประเภทและตัวอย่างขยะอันตราย การทิ้งและวิธีกำจัดอย่างปลอดภัยโดยไม่กระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางในการนำไปรีไซเคิล ในฐานะที่ ศสอ. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและงานวิจัยในเรื่องดังกล่าวร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จึงมีประสบการณ์และความพร้อมในการให้คำปรึกษาแนะนำและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการของเสียและขยะอันตราย โดยศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ จะนำข้อมูลไปจัดทำเป็น clip เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอันตรายอย่างยั่งยืนในแอปพลิเคชั่น tiktok (https://www.tiktok.com/@chulalongkornuniversity) ต่อไป

🎊🎊 วันที่ 6 มีนาคม 2568 กองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา “ผลสำเร็จของการ Update/Upgrade ธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยี Recycle/Upcycle เพื่อเข้าสู่ตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน” ภายใต้ “โครงการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงสู่ตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี” ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 1 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ
🏷️ การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนางสาวอารยา ไสลเพชร รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานในการเปิดงาน โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย เข้าร่วมการสัมมนาจำนวนกว่า 80 คน
🏷️ ผลจากการดำเนินงานโครงการในปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีรีไซเคิล/อัพไซเคิล รวมทั้งมีสถานประกอบการที่ได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึก โดยได้นำเทคโนโลยีรีไซเคิล/อัพไซเคิลมาประยุกต์ใช้ในการประกอบการ จำนวน 4 กิจการ ได้แก่
✅การรีไซเคิล/อัพไซเคิลน้ำเสียโดยการยืดอายุการใช้งานของน้ำล้างชิ้นงานจากกระบวนการชุบชิ้นส่วนรถยนต์
✅การรีไซเคิล/อัพไซเคิลฝุ่นเหล็กจากระบบบำบัดอากาศที่ปนเปื้อนน้ำมันคูลแลนท์โดยการนำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสังกะสีออกไซด์ด้วย Waelz Process
✅การรีไซเคิล/อัพไซเคิลกากปูนขาวจากอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ โดยการนำไปเป็นสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมการผลิตไม้เทียม
✅การรีไซเคิล/อัพไซเคิลเศษไม้พาเลทโดยการใช้เป็นวัสดุดูดซับน้ำมันคูลแลนท์สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงผสม
🏷️ จากการดำเนินงานครั้งนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากต้นทุนที่ลดลงหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้น 💵 ไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทต่อปี และหากมีการนำต้นแบบที่ได้พัฒนาตามแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ จะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่ต่ำกว่า 200 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (เทียบเท่า) ต่อปี ซึ่งยังไม่นับรวมมูลค่าทาง💰 เศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
📣📣📣ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ” รุ่นที่ 1 ประจำปี 2568 💉♻️
✔️เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะ และความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
✔️คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม
เป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลการขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามคำสั่งแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมการขนหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการศึกษา ภาคสาธารณสุข หรือบุคคลที่สนใจ จำนวน 30 คน
✔️อบรมวันที่ 29-30 เม.ย. 2568
✔️ณ ห้องจรัสเมือง 2 ชั้น 2 โรงแรมทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ (Onsite)
✔️ค่าลงทะเบียน 3,000 บาท/คน
✔️สำรองที่นั่งและส่งใบสมัครได้ที่ https://forms.gle/CPj5kL9EEDskF4BDA
✔️เปิดรับสมัคร ตั้งแต่ วันที่ 6 มีนาคม – 18 เมษายน 2568
✔️ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โปสเตอร์
🌍เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ประธานกลุ่มวิจัยของเสียพลาสติก ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WMS-HUB) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการ “การจัดการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตจากพีวีซีหลังจากการใช้งานจากขยะไม่ติดเชื้อสู่วัสดุรีไซเคิล ณ ห้องปันรักษ์ อาคาร A โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ♻️
อีกก้าวสำคัญของความร่วมมือด้าน การรีไซเคิลขยะทางการแพทย์จาก PVC และการส่งเสริม เศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับพันธมิตรหลัก ได้แก่
🔹 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ 🏥
🔹 สมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล (ASEAN Vinyl Council) 🌿
🔹 วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🎓
🔹 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🏫
👥 ผู้เข้าร่วมสำคัญ
🔹 นพ.กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล
🔹 นายธาริน เอี่ยมเพชราภงศ์ กรรมการและ CFO บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล
🔹 ศ.ดร.ปราโมช รังษุนวิท คณบดี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ
🔹 รศ.ดร.มานิตย์ นิติธนกุล ประธาน กลุ่มวิจัยการจัดการขยะพลาสติก WMS-HUB
🔹 คุณอภิชัย เจริญสุข รองประธาน สมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล
🔹 คุณโทโมทากะ โยชิคาวะ กรรมการ สมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พีวีซี โดยคุณอานันท์ อาชวกุลเทพ ผู้บริหาร บริษัท นครหลวงอุตสาหกรรม ที่ให้การสนับสนุนโครงการมาจนปัจจุบัน
นอกจากนี้คณะได้เยี่ยมชมการรีไซเคิลขยะของทางโรงพยาบาล โครงการนี้เป็นก้าวสำคัญในการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ลดปริมาณขยะ และส่งเสริมแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน 🌱
🤝 ร่วมกันสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม! 🌍✨
📢♻ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล ประธานกลุ่มวิจัยของเสียพลาสติก ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WMS-HUB) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการ “การจัดการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตจากพีวีซีหลังจากการใช้งานจากขยะไม่ติดเชื้อสู่วัสดุรีไซเคิล ภายใต้แนวคิดลดมลพิษ ลดโลกร้อน สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อความยั่งยืน” ณ ห้องประชุมนางพญาเสือโคร่ง ชั้น 4 อาคารสิริเวชรักษ์ โรงพยาบาลน่าน
โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลน่าน และ สมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล ซึ่งทุกฝ่ายได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนโครงการ ฯ
โครงการความร่วมมือนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนการจัดการของเสียทางการแพทย์(ไม่ติดเชื้อ)อย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ในการนำแนวคิดไปปรับใช้เพื่อให้เกิดการจัดการขยะทางการแพทย์อย่างยั่งยืนในอนาคต 🌍♻️
***กลุ่มพลาสติก ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ทิศทางและความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียนกับการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทย” เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2568 ณ ห้องบุษบา โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล ประธานกลุ่มวิจัยของเสียพลาสติก กล่าวเปิดงาน และได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online ผ่าน Zoom Meeting
การสัมมนาครั้งนี้เน้นย้ำความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) กับการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศให้เกียรติในการร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ในการสัมมนาในครั้งนี้
งานนี้ได้เปิดมุมมองและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะพลาสติกในหลายแง่มุมพร้อมส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนและการสร้างสังคมเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย

วันที่ 6 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมหารือ (Consultation Meeting) “แนวทางการพัฒนาเกณฑ์สิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste; E-o-W) สำหรับการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่เหลือจากการบำบัดของเสียอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ (Digestate)” ณ ห้องประชุมราชดำริ ชั้น 12 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ โดยมีจุดมุ่งหมายในการร่วมกันหารือถึงแนวทางการใช้ประโยชน์จากของเสียจาก digestate และพัฒนาโครงการร่วมกัน เพื่อการนำธาตุอาหารรอง และน้ำหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร โดยมี ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี ที่ปรึกษาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นประธานในการประชุม และ ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ประธานกลุ่มของเสียอุตสาหกรรม ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นผู้สรุปการประชุม

การประชุมนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานหลายภาคส่วน ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัย และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ใช้มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มเป็นวัตถุดิบ เข้าร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ต่อการทำ End of Waste จาก digestate

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้จัดการประชุมในหัวข้อ “ประชุมหารือและระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากตะกรันอะลูมิเนียม (Aluminum Dross)” ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้แทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมเคมี และผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย
การประชุมครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมการใช้ตะกรันอะลูมิเนียมให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายมิติและเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันวิจัย ในการร่วมกันหาแนวทางขับเคลือนการใช้ประโยชน์จากกากตะกรันอะลูมิเนียม สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

ประธานกลุ่มของเสียพลาสติก ร่วมลงนามข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับหน่วยงานในการรีไซเคิลวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ไม่ติดเชื้อ) ที่ผลิตจาก PVC จากโรงพยาบาล

วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล ประธานกลุ่มวิจัยของเสียพลาสติก ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WMS-HUB) ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี และสมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการ “การจัดการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์จากพีวีซีหลังการใช้งาน จากขยะไม่ติดเชื้อสู่วัสดุรีไซเคิล” ณ ห้องแมนดาริน เอ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดยมี ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยวัตถุประสงค์ของความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการและรีไซเคิลขยะทางการแพทย์ PVC ที่ไม่ติดเชื้อ” โดยมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความยั่งยืน และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย ทั้งในระบบห่วงโซ่อุปทานของพลาสติก PVC ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้รีไซเคิล และหมุนเวียนสู่ผู้ผลิตอีกครั้งผ่านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

🎉🎉ประกาศผลแล้ว!!!🎉🎉
Conceptual Design จำนวน 13 ผลงานของน้องๆ นิสิตนักศึกษาที่ผ่านเข้ารอบ Semi-Final ของโครงการ Sustainable Design Contest มีทีมอะไรกันบ้าง มาดูกันได้เลย…. 🎏🎏🎏
✅ทีมเด้งดึ๋ง
✅ทีมลูกเจี๊ยบกุุ๊กๆ
✅ทีม BOSS AKE
✅ทีม The Blue Collar
✅ทีม Gypsum boys
✅ทีมแมวเก่าๆ หมาแก่ๆ
✅ทีม Envi x design
✅ทีม Dug Dae Boi
✅ทีมหนึ่งโครงการหลายชีวิต
✅ทีมสามเกลอผัดเผ็ด
✅ทีม PPP
✅ทีม I hate Monday
✅ทีมสวยยืนหนึ่ง