เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ได้ต้อนรับ นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) และคณะ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย สาขาการจัดการของเสียอุตสาหกรรม สาขาการจัดการของเสียชุมชน และสาขาการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ให้ความสนใจและยินดีร่วมผลักดันให้เกิดการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความร่วมมือในวงกว้าง
เมื่อวันที่ 23 -26 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม คุณวานิช สาวาโย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ ส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กรมควบคุมมลพิษ คุณประโชติ กราบกราน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกรรม) สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ประจำกรุงโตเกียว ร่วมกับประธานกลุ่มของเสียอุตสาหกรรม (ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ) ของเสียพลาสติก (ผศ.ดร. มานิตย์ นิธิธนากุล) ของเสียติดเชื้อ (รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล) และคณะนักวิจัยจากศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิจัย และโรงงานอุตสาหกรรมด้านการจัดการของเสียประเภทต่างๆ ภายใต้ “การศึกษาดูงานการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
โดยคณะผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัย และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ณ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ที่เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยีเซนเซอร์ในแบบจำลอง AI เพื่อรักษาคนไข้ รวมถึงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการนำดินมาวิเคราะห์การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น อีกทั้งยังมีโอกาสอันดีที่ได้รับทราบสถานการณ์การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตและหน้าที่ของผู้บริโภค กับ the Association for Electric Home Appliances (AEHA) และยังมีโอกาสได้เข้าหารือกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of the Environment, Japan) ในการจัดทำแผนแม่บทจัดการขยะอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการขนขยะข้ามประเทศ และการสร้างความร่วมมือสนับสนุนด้านวิชาการ ซึ่งจะช่วยยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อพัฒนาสู่เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายประเทศต่อไป
นอกจากนี้คณะผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานยังได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงงานที่ดำเนินการจัดการของเสียแต่ละประเภท ได้แก่
- J&T Recycling Corporation โดยเน้นการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกในเขตเมืองโยโกฮามา เพื่อนำมาอัดก้อนก่อนส่งไปจำหน่ายเพื่อผลิตเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
- Tokyo Rinkai Eco Green and J&T Recycling Corporation มีการใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้เพื่อผลิตพลังงานในการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียติดเชื้อ
- JFE Urban Corporation โรงงานถอดแยกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 4 ประเภท ได้แก่ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ อย่างมีประสิทธิภาพและมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อทุ่นแรงคนในการทำงาน
- Kawasaki PET bottle recycling factory โรงงานรวบรวมของเสียพลาสติกที่มีการคัดแยกแล้ว และมีการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิต rPET
- Keiaisha Co.,LTD at Yokohama Vehicle Recycling โรงงานรีไซเคิลชิ้นส่วนรถยนต์และกำจัดซากรถยนต์สิ้นสภาพ
ซึ่งจากการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการของเสียอย่างยั่งยืนในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อคณะผู้ศึกษาดูงานและนักวิจัย เพื่อต่อยอดและนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบาย กฎหมาย พร้อมทั้งนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป
เมื่อวันที่ 23 -25 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้เป็นผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาหารือในการจัดการกากอุตสาหกรรมของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องมีแผนแม่บท ออกกฎหมายที่ต้องบูรณาการทุกหน่วยงานในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่มา:https://www.facebook.com/diwindustrial
ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.เพ็ญศิริ เอกจิตต์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และผู้เชี่ยวชาญภายใต้ “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS-HUB)” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก WMS-HUB เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อ “Medical Waste Classification Using Convolutional Neural Network” ในงาน 2024 14th International Conference on Future Environment and Energy (ICFEE 2024), Matsue City ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 15-17 มีนาคม 2567 และได้รับรางวัล the best presentation award ใน Session 3: Ecological Environment Pollution Control and Disaster Management
🌱 Grateful for the insightful discussions at the “ESG and Sustainable Finance” event held at Silpakorn University and Chulalongkorn University on March 5th-6th! 🌍
.
Key takeaways included exploring the journey of ESG, understanding its current state of play, and identifying both risks and opportunities. The event shed light on the relationship between ESG and sustainable finance, introducing new models for sustainable development and providing an overview of sustainable finance instruments.
.
Highlights included Mr. Bill H. Rahill’s expertise in sustainable finance and operations management, offering exclusive insights into ESG implementation and financial opportunities for companies. Professor Dr. Pisut Painmanakul provided a comprehensive perspective on ESG from a national standpoint, outlining Thailand’s approach and influencing factors. Additionally, Mr. Sivach Kaewcharoen shared valuable information on Thailand’s greenhouse gas emission reduction efforts and strategies.
.
A special thanks to the National Council of Thailand, Hub of Waste Management for Sustainable Development, all speakers, and participants for contributing to this enriching dialogue. Together, let’s continue driving progress towards a more sustainable future!
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
🌐 เว็บไซต์ : https://hsm.chula.ac.th/website/
📱 Facebook : https://www.facebook.com/HazardousSubstanceManagement
📩 Email : hsm@chula.ac.th
☎️ โทรศัพท์ : 02 218 3952
CENTER OF EXCELLENCE ON HAZARDOUS SUBSTANCE MANAGEMENT
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS HUB) ภายใต้ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “การจัดการของเสียในประเทศไทยและอาเซียนมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote Speaker) อาทิเช่น
- ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 10 ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ’
- ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ดร.นภาพร ตั้งถิ่นไท นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ
พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียที่นำเสนอแนวคิด และประสบการณ์อีกหลายท่าน โดยมีเข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา สถาบันการวิจัย หน่วยงานผู้ให้ทุน และภาคประชาสังคม เป็นจำนวนมาก การประชุมดังกล่าวทำให้ได้ทราบถึงทิศทางงานวิจัยต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม นโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โจทย์และทิศทางงานวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากหน่วยงานให้ทุน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านการจัดการของเสียทั้งในประเทศและระดับอาเซียน
website : wmshub.org
facebook : https://www.facebook.com/HubofWasteManagementforSustainableDevelopment/
📣📣Toward Circular world📣📣
ทิศทางงานวิจัยของไทย ต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS HUB) ภายใต้ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “การจัดการของเสียในประเทศไทยและอาเซียนมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน”
โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote Speaker) จากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านสิ่งแวดล้อม ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 10 ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียอย่างยั่งยืนภายใต้ Hub of Waste Management for Sustainable Development
ผู้ร่วมงานจะได้ทราบถึงทิศทางงานวิจัยต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม นโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โจทย์และทิศทางงานวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากหน่วยงานให้ทุน รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านการจัดการของเสียทั้งในประเทศและระดับอาเซียน
📌📌มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน📌📌
📋 ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่ https://forms.gle/vayczBrrDtH9kDwi7 ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567
📑 เอกสารประกอบการประชุม https://drive.google.com/drive/folders/1ApBB2tknGpOP7-d7TciVk3BhI6jb7tnO?fbclid=IwAR3vdnbkLXiqSkPly4TACpX3cYX6mTz-wEdRB2RfQtkMbiLE_JA-8eTQkLw
📬 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจันท์ศจี ทิพยสุนทรานนท์
โทรศัพท์ 08 9097 6996
อีเมล poupaemegumi@gmail.com
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการสัมมนา “สถานการณ์การจัดการของเสียและนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน” ณ ห้องจามจุรี บอลรูม บี โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการของเสียให้เป็นไปตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน เน้นการนำทรัพยากรที่ถูกนำไปใช้แล้วกลับมาแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาจากทั้งภาคสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นจำนวนมาก โดยงานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานกลุ่มของเสียชุมชน ศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.ชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายรับรองระบบ และกำกับดูแลสายธุรกิจ Conformity Assessment Bodies สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ