เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการสัมมนา “สถานการณ์การจัดการของเสียและนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน” ณ ห้องจามจุรี บอลรูม บี โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการของเสียให้เป็นไปตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน เน้นการนำทรัพยากรที่ถูกนำไปใช้แล้วกลับมาแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาจากทั้งภาคสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นจำนวนมาก โดยงานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานกลุ่มของเสียชุมชน ศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.ชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายรับรองระบบ และกำกับดูแลสายธุรกิจ Conformity Assessment Bodies สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ

กรมโรงงานฯ ร่วมกับ GIZ จัดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนที่นำทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนที่นำทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ภายใต้โครงการ Climate Action Programme for the Chemical Industry (CAPCI): Supporting the Development of a National Roadmap on Sustainable Chemical and Climate Change for Thailand โดยมี ดร. เดสเลฟ ชไรเบอร์ (Dr. Detlef Schreiber) ผู้อำนวยการโครงการ CAPCI องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมบรรยายพิเศษการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนในประเทศต่าง ๆ และมีนางสาวอารยา ไสลเพชร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน สถาบันการศึกษาวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาโครงการฯ และเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวม 97 คน เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ

อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง โดยมีการปล่อยจากภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มากเป็นลำดับที่ 2 รองจากอุตสาหกรรมอโลหะ/ซีเมนต์ อุตสาหกรรมเคมีจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการปัญหาโลกร้อน รวมทั้งเป็นโอกาสในการลงทุนและพัฒนาธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำต่อไป ทั้งนี้ แผนที่นำทางฯ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากโครงการ CAPCI ภายใต้ความร่วมมือไทย-เยอรมันนี้ จะเป็นกรอบแนวทางสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีคาร์บอนต่ำและยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป

ที่มา: https://www.facebook.com/diwindustrial

♻️🌎 วันที่ 11 มกราคม 2567 คณะวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการกู้คืนสารทำความเย็นที่ บริษัท อิวาตานิ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บางกอก แก๊ส เซ็นเตอร์ เป็นที่แรกในประเทศไทยที่เริ่มกระบวนการ recovery สารทำความเย็นให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ “โครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี สนับสนุนโดยกองทุนนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมทำความเย็น (EGAT Cooling Innovation Fund: CIF)” มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาและออกแบบแนวทางการรวบรวมซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น โดยมีการนำเทคโนโลยีการใช้ระบบติดตามซากฯ ที่ได้พัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นที่จะนำไปสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

🧪🏭♻️🌏 วันที่ 5 มกราคม 2567 คณะวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการขนส่งซากเครื่องปรับอากาศเข้าสู่ระบบการจัดการอย่างถูกต้อง ที่รวบรวมร่วมกับ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด ในเเคมเปญ “เก่าแลกใหม่” ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ “โครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี สนับสนุนโดยกองทุนนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมทำความเย็น (EGAT Cooling Innovation Fund: CIF)” มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาและออกแบบแนวทางการรวบรวมซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น โดยมีการนำเทคโนโลยีการใช้ระบบติดตามซากฯ ที่ได้พัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นที่จะนำไปสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี

📑🌏♻️🏢ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “เครื่องมือประเมินความเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงผลลัพธ์ขององค์กร โดยการใช้ผังการไหลของโมเดลการผลิต การบริโภค และการจัดการของเสีย” กิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาเครื่องมือประเมินความเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงผลลัพธ์ของ องค์กร โดยการใช้ผังการไหลของโมเดลการผลิต การบริโภค และการจัดการของเสีย สนับสนุนโดย: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) (ผู้ให้ ทุน) มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ผู้ให้ทุนร่วม)ในวันที่ 26 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 – 13.00 น. ณ ณ ห้อง Sky 1 ชั้น 6 โรงแรม Skyview สุขุมวิท 24 จ.กรุงเทพฯ และรูปแบบออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 53 ท่าน งานสัมมนานี้ได้มีการนำเสนอผลดําเนินการพัฒนาเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และสามารถใช้ในการติดตามและประเมินผล ช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงยังมีศักยภาพในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และความสัมพันธ์เชิงกลุ่มอุตสาหกรรมหรือเชิงพื้นที่ได้ พร้อมทั้งระบุจุดที่ยังมีโอกาสในการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์ผังการไหลของวัสดุที่เข้าและออกจากองค์กร ตามโมเดลการผลิต-การบริโภค-การจัดการของเสีย โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์รับฟังความคิดเห็น รวมถึงเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดโจทย์วิจัยด้านการจัดการของเสียชุมชน” ครั้งที่ 2 : การระดมความคิดเห็นต่อโจทย์วิจัยที่เหมาะสมกับทิศทางการจัดการของเสียชุมชนของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต”

ภายใต้ “โครงการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development)”

โดย รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร หัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ประธานกลุ่มของเสียชุมชน

ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ

 

วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30-16.00 น.

Zoom Meeting

Meeting ID : 767 319 0932

Password : 888888

ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่

https://forms.gle/17C9rB5H96tjAvJk9

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณสุธาทิพย์ 086-5147436

🖊📄 ♻️🌏วันที่ 12 ธันวาคม 2566 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้บริหารบริษัท อินทรี ซุปเปอร์บล็อก จำกัด ผู้บริหารบริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสีย (ศสอ.) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีสเทิร์นซิลิเกต จำกัด และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการ ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
________________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
📩 hsm@chula.ac.th
☎️ 02 218 3952
Center of Excellence on Hazardous Substance Management #HSM
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารและของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การระดมความเห็นต่อการสร้างความต้องการเพื่อพัฒนางานวิจัยและกิจกรรมของกลุ่มการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียอิเล็กทรอนิกส์” ณ ห้องประชุมสกาย 2 ชั้น 6 โรงแรมสกายวิว สุขุมวิท 24 โดยการประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจภาพรวม กิจกรรม และการสนับสนุนของโครงการฯ รับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนางานวิจัยและกิจกรรมของโครงการดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนภาคประชาสังคม รวม ทั้งสิ้นประมาณ 70 ท่านซึ่งครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประเด็นที่น่าสนใจในระดับสากล (Global Trend) ความท้าทาย ปัญหาและอุปสรรคทั้งในระดับปฏิบัติจนถึงนโยบายที่มีต่อการพัฒนาและการดำเนินงานวิจัย
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการจัดการของเสียของประเทศไทย โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี
________________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #wmshub ได้ที่
📩 hubofwaste@gmail.com
☎️ 02 218 3838
Hub of Waste Management for Sustainable Development
📢 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขอเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การระดมความเห็นต่อการสร้างความต้องการ
เพื่อพัฒนางานวิจัยและกิจกรรมของกลุ่มการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียอิเล็กทรอนิกส์” กิจกรรมภายใต้โครงการ “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”Hub of Waste Management for Sustainable Development” ได้รับงบประมาณสนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดำเนินการโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🎯วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและหาแนวทางในการสร้างโจทย์วิจัยที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศ เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ
⏰วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา
08.30 – 13.00 น.
📍ณ ห้องประชุม Sky 2 ชั้น 6 โรงแรม Skyview สุขุมวิท 24 กรุงเทพฯ
หากท่านสนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLScXB7CK…/viewform

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยชำนาญการแห่งสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานกลุ่มของเสียชุมชน ร่วมกับคุณภัทรพล ตุลารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญของเสียชุมชน ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ผู้ช่วยศูนย์ฯ และคุณเจริศา จำปา ผู้ประสานงานของเสียชุมชน ภายใต้ “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development)” ได้เข้าร่วมประชุมกับ Mr. Jordan Kimball เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) สำนักงานภาคพื้นเอเชีย เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือการวิจัยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ของเสียอย่างยั่งยืนต่อไป