ประธานกลุ่มของเสียพลาสติก ร่วมลงนามข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับหน่วยงานในการรีไซเคิลวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ไม่ติดเชื้อ) ที่ผลิตจาก PVC จากโรงพยาบาล

วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล ประธานกลุ่มวิจัยของเสียพลาสติก ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WMS-HUB) ร่วมกับ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี และสมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการ “การจัดการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์จากพีวีซีหลังการใช้งาน จากขยะไม่ติดเชื้อสู่วัสดุรีไซเคิล” ณ ห้องแมนดาริน เอ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดยมี ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยวัตถุประสงค์ของความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการและรีไซเคิลขยะทางการแพทย์ PVC ที่ไม่ติดเชื้อ” โดยมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความยั่งยืน และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย ทั้งในระบบห่วงโซ่อุปทานของพลาสติก PVC ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้รีไซเคิล และหมุนเวียนสู่ผู้ผลิตอีกครั้งผ่านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “สถานพยาบาลไทย: มุมมองใหม่ สู่การลดของเสียเพื่อความยั่งยืน” ณ ห้องแมนดาริน บี โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดย รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร หัวหน้าศูนย์ฯ ได้กล่าวเปิดงาน พร้อมกล่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมศูนย์ฯ ภายในงานสัมมนาได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรยายในประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งในด้านสถานการณ์มูลฝอยติดเชื้อ ความปลอดภัย ถอดความสำเร็จ และแนวทางการจัดการพลาสติก (ไม่ติดเชื้อ) ในสถานพยาบาล โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากร ดังนี้
• รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล ประธานกลุ่มมูลฝอยติดเชื้อ
• คุณประโชติ กราบกราน กรมอนามัย
• นายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
• นายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร จากรพ.น่าน
• ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล ประธานกลุ่มของเสียพลาสติก
การสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการจัดการของเสียพลาสติก (ไม่ติดเชื้อ) ในสถานพยาบาล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและยกระดับมาตรฐานการจัดการขยะในประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 60 ท่าน
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแนวทางการจัดการของเสียพลาสติก (ไม่ติดเชื้อ)ได้จากลิงก์ที่แสดงในความคิดเห็นแรกของโพสต์

วันที่ 19 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา ผู้รักษาการรองอธิการบดี ด้านกิจการพิเศษ พัสดุ และ SDG จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติกล่าวเปิดงานบรรยายพิเศษในหัวข้อ “LCA of Reclamation vs Destruction of Refrigerant” โดย Professor Dr. Norihiro ITSUBO from the Faculty of Science and Engineering, Waseda University ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร มีการแนะนำศูนย์และแนวทางการจัดการของเสียอิเล็กทรอนิกส์ โดยกิจกรรมการบรรยายนี้มีผู้ร่วมงาน 68 ท่าน จากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการบรรยายนี้ได้รับฟังประสบการณ์จากการดำเนินงานจัดการของเสีย โดยเฉพาะของเสียอิเล็กทรอนิกส์ และสารทำความเย็น ปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และข้อมูลเปรียบเทียบการจัดการสารทำความเย็นโดยการ Reclamation เปรียบเทียบกับการ Destruction เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการจัดการสารทำความเย็นในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ นักวิจัย ศสอ. ได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการผลงานวิจัย ณ ZONE D: SCIENCE FOR EXPONENTIAL GROWTH ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ในงาน อว. แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ศสอ.ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมในการจัดทำแพลตฟอร์มข้อมูลกากอุตสาหกรรมในเชิงปริมาณและเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นระบบเตรียมความพร้อมต่อการใช้ประโยชน์และเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ก่อกำเนิดและผู้ที่ต้องการนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าว โดยอาจส่งผลต่อการลงทุนหรือการเพิ่มศักยภาพของของเสียให้กลายเป็นวัตถุดิบในรูปแบบอื่นๆในอนาคต ตอบสนองนโยบายด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของเสียประเภทต่างๆอีกด้วย ได้แก่ ของเสียติดเชื้อ ของเสียชุมชน ของเสียอุตสาหกรรม ของเสียพลาสติก และของเสียอิเล็กทรอนิกส์ ให้นำไปสู่กระบวนการการแก้ไขปัญหา การใช้ประโยชน์ รวมไปถึงมาตรการต่างๆที่สนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

โดยสามารถติดตามรายละเอียดและกิจกรรมของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯได้ที่ facebook.com/HubofWasteManagementforSustainableDevelopment

หากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียในมิติต่างๆสนใจ สามารถสมัคร (sign up) เข้าร่วมเป็นผู้เชี่ยวชาญของศูนย์รวบผู้เชี่ยวชาญฯ ได้ที่ www.wmshub.org เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการของเสียของประเทศต่อไป

🎉🎉ขอเชิญเข้าชมงานมหกรรม🎉🎉
🎗️อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND🎗️
📌 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
🗓️ วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567

✒️ บูธนิทรรศการ บริเวณ ZONE D: SCIENCE FOR EXPONENTIAL GROWTH
🗓️ 22-24 ก.ค. โครงการวิจัย End-of-Waste : Plaster Mold Waste
🗓️ 25-26 ก.ค. โครงการวิจัยบ่มเพาะผู้ประกอบการด้าน E-Waste สู่วิสาหกิจ
🗓️ 27-28 ก.ค. โครงการวิจัยยกระดับการจัดการ Industrial Waste และ Green House Gas ด้วย Digital Technology

✒️ บริเวณ ZONE F: SCIENCE FOR FUTURE THAILAND
“ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับกลุ่มวิจัยด้านของเสียที่มีความสนใจ รวมพลังนักวิชาการจากทุกศาสตร์ ทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอแนวนโยบายและงานวิจัยในการแก้ไขปัญหาขยะและของเสียของประเทศ

🧑‍🎤ร่วมเสวนา “เดินหน้าประเทศไทย: ความพร้อมการลดของเสียผ่านเศรษฐกิจหมุนเวียน”
🗒️ วันที่ 27 ก.ค. เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้อง MR 203
ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานด้านการจัดการของเสียมายาวนาน

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 พร้อมวางแผนและพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) จัดการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 และวางแผนพัฒนากิจกรรมสำหรับปีที่ 2-5 โดยมี รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 9 ศสอ.

รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ในปีที่ 1 รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและการดำเนินงานในปีที่ 2-5 พร้อมทั้งระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะในการสร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการของเสียทั้งในและต่างประเทศ จากประธานกลุ่มการจัดการของเสีย ประกอบไปด้วย ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ (กลุ่มของเสียอุตสาหกรรม) ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี (ของเสียชุมชน) รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล (มูลฝอยติดเชื้อ) และ ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล (ของเสียพลาสติก) เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯ และงานวิจัยด้านการจัดการของเสียในประเทศไทยได้มีแนวทางและยุทธศาสตร์การวิจัยที่เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง รวมไปถึงการขยายเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีด้านการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนให้เกิดความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ได้ต้อนรับ นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) และคณะ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย สาขาการจัดการของเสียอุตสาหกรรม สาขาการจัดการของเสียชุมชน และสาขาการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ให้ความสนใจและยินดีร่วมผลักดันให้เกิดการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความร่วมมือในวงกว้าง

เมื่อวันที่ 23 -26 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม คุณวานิช สาวาโย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ ส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กรมควบคุมมลพิษ คุณประโชติ กราบกราน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกรรม) สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ประจำกรุงโตเกียว ร่วมกับประธานกลุ่มของเสียอุตสาหกรรม (ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ) ของเสียพลาสติก (ผศ.ดร. มานิตย์ นิธิธนากุล) ของเสียติดเชื้อ (รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล) และคณะนักวิจัยจากศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิจัย และโรงงานอุตสาหกรรมด้านการจัดการของเสียประเภทต่างๆ ภายใต้ “การศึกษาดูงานการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

โดยคณะผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัย และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ณ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ที่เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยีเซนเซอร์ในแบบจำลอง AI เพื่อรักษาคนไข้ รวมถึงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการนำดินมาวิเคราะห์การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น อีกทั้งยังมีโอกาสอันดีที่ได้รับทราบสถานการณ์การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตและหน้าที่ของผู้บริโภค กับ the Association for Electric Home Appliances (AEHA) และยังมีโอกาสได้เข้าหารือกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of the Environment, Japan) ในการจัดทำแผนแม่บทจัดการขยะอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการขนขยะข้ามประเทศ และการสร้างความร่วมมือสนับสนุนด้านวิชาการ ซึ่งจะช่วยยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อพัฒนาสู่เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายประเทศต่อไป
นอกจากนี้คณะผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานยังได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงงานที่ดำเนินการจัดการของเสียแต่ละประเภท ได้แก่

  • J&T Recycling Corporation โดยเน้นการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกในเขตเมืองโยโกฮามา เพื่อนำมาอัดก้อนก่อนส่งไปจำหน่ายเพื่อผลิตเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
  • Tokyo Rinkai Eco Green and J&T Recycling Corporation มีการใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้เพื่อผลิตพลังงานในการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียติดเชื้อ
  • JFE Urban Corporation โรงงานถอดแยกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 4 ประเภท ได้แก่ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ อย่างมีประสิทธิภาพและมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อทุ่นแรงคนในการทำงาน
  • Kawasaki PET bottle recycling factory โรงงานรวบรวมของเสียพลาสติกที่มีการคัดแยกแล้ว และมีการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิต rPET
  • Keiaisha Co.,LTD at Yokohama Vehicle Recycling โรงงานรีไซเคิลชิ้นส่วนรถยนต์และกำจัดซากรถยนต์สิ้นสภาพ

ซึ่งจากการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการของเสียอย่างยั่งยืนในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อคณะผู้ศึกษาดูงานและนักวิจัย เพื่อต่อยอดและนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบาย กฎหมาย พร้อมทั้งนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป

เมื่อวันที่ 23 -25 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้เป็นผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาหารือในการจัดการกากอุตสาหกรรมของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องมีแผนแม่บท ออกกฎหมายที่ต้องบูรณาการทุกหน่วยงานในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน

ที่มา:https://www.facebook.com/diwindustrial

ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.เพ็ญศิริ เอกจิตต์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และผู้เชี่ยวชาญภายใต้ “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS-HUB)” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก WMS-HUB เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อ “Medical Waste Classification Using Convolutional Neural Network” ในงาน 2024 14th International Conference on Future Environment and Energy (ICFEE 2024), Matsue City ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 15-17 มีนาคม 2567 และได้รับรางวัล the best presentation award ใน Session 3: Ecological Environment Pollution Control and Disaster Management