ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS HUB) ภายใต้ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “การจัดการของเสียในประเทศไทยและอาเซียนมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote Speaker) อาทิเช่น

  • ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 10 ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ’
  • ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ดร.นภาพร ตั้งถิ่นไท นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ

พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียที่นำเสนอแนวคิด และประสบการณ์อีกหลายท่าน โดยมีเข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา สถาบันการวิจัย หน่วยงานผู้ให้ทุน และภาคประชาสังคม เป็นจำนวนมาก การประชุมดังกล่าวทำให้ได้ทราบถึงทิศทางงานวิจัยต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม นโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โจทย์และทิศทางงานวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากหน่วยงานให้ทุน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านการจัดการของเสียทั้งในประเทศและระดับอาเซียน


website : wmshub.org

facebook : https://www.facebook.com/HubofWasteManagementforSustainableDevelopment/

📣📣Toward Circular world📣📣
ทิศทางงานวิจัยของไทย ต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS HUB) ภายใต้ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “การจัดการของเสียในประเทศไทยและอาเซียนมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน”

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote Speaker) จากหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านสิ่งแวดล้อม ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 10 ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียอย่างยั่งยืนภายใต้ Hub of Waste Management for Sustainable Development

ผู้ร่วมงานจะได้ทราบถึงทิศทางงานวิจัยต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม นโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โจทย์และทิศทางงานวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากหน่วยงานให้ทุน รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านการจัดการของเสียทั้งในประเทศและระดับอาเซียน

📌📌มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน📌📌

📋 ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่ https://forms.gle/vayczBrrDtH9kDwi7 ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567

📑 เอกสารประกอบการประชุม https://drive.google.com/drive/folders/1ApBB2tknGpOP7-d7TciVk3BhI6jb7tnO?fbclid=IwAR3vdnbkLXiqSkPly4TACpX3cYX6mTz-wEdRB2RfQtkMbiLE_JA-8eTQkLw

📬 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจันท์ศจี ทิพยสุนทรานนท์
โทรศัพท์ 08 9097 6996
อีเมล poupaemegumi@gmail.com

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการสัมมนา “สถานการณ์การจัดการของเสียและนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน” ณ ห้องจามจุรี บอลรูม บี โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการของเสียให้เป็นไปตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน เน้นการนำทรัพยากรที่ถูกนำไปใช้แล้วกลับมาแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาจากทั้งภาคสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นจำนวนมาก โดยงานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานกลุ่มของเสียชุมชน ศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.ชวาธิป จินดาวิจักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายรับรองระบบ และกำกับดูแลสายธุรกิจ Conformity Assessment Bodies สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ

ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดโจทย์วิจัยด้านการจัดการของเสียชุมชน” ครั้งที่ 2 : การระดมความคิดเห็นต่อโจทย์วิจัยที่เหมาะสมกับทิศทางการจัดการของเสียชุมชนของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต”

ภายใต้ “โครงการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development)”

โดย รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร หัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ประธานกลุ่มของเสียชุมชน

ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ

 

วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30-16.00 น.

Zoom Meeting

Meeting ID : 767 319 0932

Password : 888888

ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่

https://forms.gle/17C9rB5H96tjAvJk9

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณสุธาทิพย์ 086-5147436

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารและของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การระดมความเห็นต่อการสร้างความต้องการเพื่อพัฒนางานวิจัยและกิจกรรมของกลุ่มการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียอิเล็กทรอนิกส์” ณ ห้องประชุมสกาย 2 ชั้น 6 โรงแรมสกายวิว สุขุมวิท 24 โดยการประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจภาพรวม กิจกรรม และการสนับสนุนของโครงการฯ รับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนางานวิจัยและกิจกรรมของโครงการดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนภาคประชาสังคม รวม ทั้งสิ้นประมาณ 70 ท่านซึ่งครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประเด็นที่น่าสนใจในระดับสากล (Global Trend) ความท้าทาย ปัญหาและอุปสรรคทั้งในระดับปฏิบัติจนถึงนโยบายที่มีต่อการพัฒนาและการดำเนินงานวิจัย
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการจัดการของเสียของประเทศไทย โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี
________________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #wmshub ได้ที่
📩 hubofwaste@gmail.com
☎️ 02 218 3838
Hub of Waste Management for Sustainable Development
📢 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขอเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การระดมความเห็นต่อการสร้างความต้องการ
เพื่อพัฒนางานวิจัยและกิจกรรมของกลุ่มการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียอิเล็กทรอนิกส์” กิจกรรมภายใต้โครงการ “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”Hub of Waste Management for Sustainable Development” ได้รับงบประมาณสนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดำเนินการโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🎯วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและหาแนวทางในการสร้างโจทย์วิจัยที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศ เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ
⏰วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา
08.30 – 13.00 น.
📍ณ ห้องประชุม Sky 2 ชั้น 6 โรงแรม Skyview สุขุมวิท 24 กรุงเทพฯ
หากท่านสนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLScXB7CK…/viewform

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยชำนาญการแห่งสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานกลุ่มของเสียชุมชน ร่วมกับคุณภัทรพล ตุลารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญของเสียชุมชน ดร.มงคลชัย อัศวดิษฐเลิศ ผู้ช่วยศูนย์ฯ และคุณเจริศา จำปา ผู้ประสานงานของเสียชุมชน ภายใต้ “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development)” ได้เข้าร่วมประชุมกับ Mr. Jordan Kimball เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) สำนักงานภาคพื้นเอเชีย เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือการวิจัยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ของเสียอย่างยั่งยืนต่อไป

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดโจทย์วิจัยด้านการจัดการของเสียชุมชน” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 โดยเป็นการประชุมแบบ online และ on-site ณ ห้องประชุมกรรณิการ์ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยส์ ในการประชุมดังกล่าวมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย เข้าร่วมประชุมจำนวน 70 คน โดยมีการนำเสนอภาพรวมการดำเนินงาน แนะนำประธานกลุ่มของเสียชุมชน และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งร่วมกันระดมความคิดเห็นสร้างโจทย์วิจัยตามกรอบแนวทางยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการขยายผลการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียชุมชนให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการจัดการของเสียชุมชนต่อไป

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินงานโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดโจทย์วิจัยด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ” ประชุมรูปแบบผสม (Hybrid) ประชุม Online ผ่านระบบ ZOOM meeting และ on-site ณ ห้องประชุม 1 ศสอ.ชั้น 8 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ กรมปศุสัตว์ บริษัทอัคคีปราการ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร โดยในการประชุมได้ชี้แจงภาพรวมการดำเนินงาน แนะนำประธานกลุ่มและผู้เชี่ยวชาญ และร่วมระดมความคิดเห็นสร้างโจทย์วิจัยตามกรอบแนวทางยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศ พร้อมทั้งพลักดันให้เกิดการขยายผลการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน