🖊📄 ♻️🌏วันที่ 12 ธันวาคม 2566 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้บริหารบริษัท อินทรี ซุปเปอร์บล็อก จำกัด ผู้บริหารบริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสีย (ศสอ.) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีสเทิร์นซิลิเกต จำกัด และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการ ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
________________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
📩 hsm@chula.ac.th
☎️ 02 218 3952
Center of Excellence on Hazardous Substance Management #HSM

👏 ศสอ. ได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีแถลงข่าวงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2565 หรือ “TechnoMart 2022” ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันพุธที่ 13 กันยายน 2565 ณ ลิฟวิ่ง ฮอล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

📷ในช่วงท้ายของพิธีแถลงข่าวดังกล่าว นอกจากนั้น ประธานในพิธี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหน่วยจัดงาน ได้เยี่ยมชมตัวอย่างผลงานการจัดแสดงของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ที่จะนำมาจัดแสดงจริงในวันที่ วันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ภายใต้แนวคิด BCG สู่เศรษฐกิจ สร้างคุณค่า “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

📌สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ทั้ง 2 รูปแบบ (Hybrid Exhibition) ดังนี้
📅รูปแบบ Onsite ตั้งแต่ วันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และบริเวณทางเชื่อมศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์
💻รูปแบบ Online ที่ https://www.technomart2022.com และhttps://www.facebook.com/TechnoMartThailand/ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 28 พฤศจิกายน 2565

🙏ข้อมูลโดย :
กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทร. 02-333-3927

ศสอ.ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมจาก สป.อว. กองส่งเสริมและประสานงานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เมื่อวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุม 207 ชั้น 2 อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จัดการประชุมนำเสนอ “ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย” ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย : การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2
📆 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.
📍ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพฯ
✅ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. และผู้บริหารแผนงานวิจัยฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนำเสนอผลการวิเคราะห์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ จากนั้น ดร.ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ หัวหน้าโครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ ตามด้วย การนำเสนอความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดย ผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ
✅ ปิดท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมประชุม

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ได้จัดการประชุมให้ความเห็นต่อ “โครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย” แผนงานวิจัยท้าทายไทย: การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพ โดยมี รศ.ดร. สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. เป็นประธานการประชุม โดยได้กล่าวถึงภาพรวมโครงการและผลการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….. โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมนำเสนอให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็น อาทิ รศ.ดร. ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ อ.ดร. ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดร. ชาคริต สิทธิเวช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ คุณเชาว์ลิต แจ้งอักษร ผอ.ส่วนพัฒนากฎหมาย และคุณธนวิทย์ พลไทยสงค์ นิติกร จากกรมควบคุมมลพิษ มาร่วมให้ข้อเสนอแนะและรายงานความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….. และได้รับเกียรติจากคุณประโชติ กราบกราน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ร่วมหารือเพื่อสร้างแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ในภาพรวม

ขอเชิญผู้สนใจร่วมเปิดตัวโครงการ “ความร่วมมือกลไกใหม่ในการจัดการ E-WASTE เมืองพัทยา”
📆ในวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม เวลา 08.30 – 11.30 น.
🏛ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา อ. บางละมุง จ. ชลบุรี หรือ
🎥รับชมผ่าน Facebook Live Page Waste Talk
💻หรือโปรแกรม Zoom Meeting ID : 916 1713 8865 Password : 979775
📝ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่าย) และศึกษากำหนดการได้โดยสแกน QR Code ด้านล่าง
♻️⛱ โครงการนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ร่วมกับเมืองพัทยา มหาวิทยาลัยบูรพา และเครือข่าย เพื่อศึกษาต้นแบบความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทานของซากผลิตภัณฑ์ฯ ประเภทตู้เย็น ตามหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต และรูปแบบของมาตรการที่จะใช้กับเมืองพัทยา เพื่อสร้างมูลค่าส่วนเพิ่ม (ลดต้นทุนของระบบ) ในโครงการ รวมถึงการจัดทำเครื่องมือติดตามขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัล (Digital WEEE Manifest, DWM) ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานกับเมืองพัทยา โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (วส.) จัดเสวนา Safety Talk ครั้งที่ 1 เรื่อง Workplace Health and Safety in the University เพื่อเป็นการสื่อสารเชิงรุก ให้นิสิต บุคลากรและผู้สนใจทราบถึงปัญหา ความสําคัญของการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการเรียน การสอน การวิจัย การทํางานในมหาวิทยาลัย และสามารถนําประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาของสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในบริบทของส่วนงานของตนได้ต่อไป กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร และบุคลากรในมหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ นี้โดยท่านสามารถลงทะเบียนเข่าร่วมกิจกรรมได้ทาง https://bit.ly/3NdAALF

ขณะนี้สังคมออนไลน์ได้โพสต์คลิปเกี่ยวกับการสกัดทองคำจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการต่างๆ ประกอบกับเป็นช่วงที่ราคาทองที่สูงขึ้นมาก ทำให้คลิปดังกล่าวได้รับความนิยมในการรับชมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิธีการสกัดทองคำจากแผงวงจรโทรศัพท์มือถือ โดยอาจจะใช้การเผาหรือหลอม ใช้กรดกัดกร่อน ใช้สารประกอบไซยาไนด์ ซึ่งวิธีเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาชิ้นส่วนพลาสติกแผงวงจรที่มีส่วนผสมของสารหน่วงไฟ (โบรมีน) เป็นองค์ประกอบ อาจทำให้เกิดอนุพันธ์ของสารกลุ่มไดออกซินและฟิวแรนที่เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งถือเป็นสารตกค้างที่ยาวนานปนเปื้อนในอากาศได้ ส่วนกรดที่ใช้เป็นสารกัดกร่อน ต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพราะอาจมีการปนเปื้อนโลหะหนักชนิดต่างๆ เช่นเดียวกันกับสารไซยาไนด์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งกระบวนการสกัดทองคำดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดสารอันตรายประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีโลหะมีค่าหลายชนิด เช่น ทองแดง ทองคำขาว เงิน เหล็ก นิกเกิล รวมถึงอลูมิเนียม เป็นต้น จากรายงานแผงวงจรทั่วไป (ทุกประเภท) เฉลี่ยมีทองคำเป็นองค์ประกอบอยู่ 0.004–0.02% หากมีการสกัดโดยวิธีที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คุณสมบัติที่โดดเด่นของทองคำจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดี มีความยืดหยุ่น และไม่เกิดสนิม จึงมีการนำทองคำมาใช้เป็นส่วนประกอบของแผงวงจรในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิด เนื่องจากทองคำมีความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าสูง (รองลงมาจากทองแดงและเงิน) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทองคำบริสุทธิ์น้อยลง จากเดิมใช้ทองคำบริสุทธิ์ทั้งชิ้นเปลี่ยนเป็นการชุบเคลือบผิววัสดุที่หนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

แม้ว่าในปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่แสดงให้เห็นอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีความพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อจะแก้ไขปัญหานี้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ผลิตถึงการกำจัด ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายโดยผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น การสร้างจิตสำนึกจากหลายๆโครงการผ่านการสนับสนุนจากทางหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ ค่ายโทรศัพท์มือถือ รวมถึงโครงการจุฬารักษ์โลก โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 12 ที่ดำเนินการรับบริจาคโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งการบริจาคโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตจำนวน 1 เครื่อง โครงการจุฬาฯรักษ์โลกและTES (ผู้รับกำจัดและรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) จะเปลี่ยนเป็นเงินบริจาค 10 บาท เข้า“กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ(CU Cancer Immunotherapy Fund)” สำหรับสนับสนุนการวิจัยด้านการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การบริจาคโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลืองานวิจัยแล้ว ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ระหว่างรอให้ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา : https://news.ch7.com/detail/557158?fbclid=IwAR2k9Vea9vPpcxBsLWxePaywjQ0L0XnyxA8BTxJs_C4Wjt830VEAEmL0XIQ

ศสอ-HSM (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย)
📢 ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนา การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน
✨จากกรณีศึกษา 3 เรื่องที่น่าสนใจ✨
🧩 เถ้าจากโรงไฟฟ้าขยะ
🧩 เม็ดพลาสติกรีไซเคิล
🧩 ขยะอิเล็กทรอนิกส์
🕘 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM
📃 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโดยแสกน QR CODE จากโปสเตอร์ หรือ https://docs.google.com/…/1FAIpQLScOchKbuhIY5a…/viewform
📞 ติดต่อสอบถามผ่านเพจ facebook WASTE Talk สนใจสมัครเลย

ด้วยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการ Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities