About the project

ชื่อและ email.com สำหรับติดต่อ
นายฐิติวุฒิ พงษ์พานิช / titiwut.p@chula.ac.th

ที่มาและความสำคัญ

ในกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น ทำให้เกิดเถ้าลอยประมาณ 75-80% และเถ้าหนักประมาณ 20-25% ซึ่งคิดเป็นปริมาณสะสมไม่ต่ำกว่า 25 ล้านตัน/ปี ซึ่งหากดูกรณีตัวอย่างโรงไฟฟ้าชีวมวล กัลฟ์ ยะลา กรีน ที่มีเถ้าจากการเผาไหม้ ถ่านหินเกิดขึ้นราว 13 ตัน/ปี จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มากในการฝังกลบ ทั้งนี้ แต่เดิมเถ้าลอยและเถ้าหนักถูกจัดว่าเป็น วัสดุที่ไม่ก่อประโยชน์ ไร้มูลค่า และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการกำจัด แต่ในปัจจุบันวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และดูไร้ค่า เหล่านี้ สามารถนำไปแปรรูปหรือเป็นผสมกับวัสดุอื่นเพื่อประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นวัตถุดิบเสริมปูนต์ซิเมนต์ ในงานก่อสร้าง และสำหรับโครงการวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อใช้เถ้าหนักและเถ้าลอยเป็นแหล่งอาหารและสารปรับปรุงดินสำหรับ ปลูกพืชกระท่อม โดยจะช่วยเพิ่มปริมาณไมทราไจนีนในพืชกระท่อม

ผลการดำเนินโครงการ

งานวิจัยนี้อยู่ในขั้นตอนเริ่มต้น แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. ศึกษาหาข้อมูลในกระบวนการปลูกแบบผสมเถ้าลอยและเถ้าหนักเปรียบเทียบกับการปลูกแบบทั่วไป
  2. การวางแผนเตรียมเถ้าลอยและเถ้าหนักผสมกับดินเพื่อหาสัดส่วนเหมาะสมในการปลูกทดสอบ
  3. การปลูกพืชกระท่อมลงในกระถางเพื่อควบคุมปัจจัยต่างๆที่อาจจะส่งผลต่อการปลูกพืชกระท่อมในอัตราส่วนของเถ้าที่แตกต่างกัน ร้อยละ 20 30 40 50 60 และ 80 และบันทึกการเปลี่ยนแปลงทุกสองสัปดาห์

ผลกระทบต่อสังคม

กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชกระท่อมสามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตที่เป็นข้อกำหนดในการส่งขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในการแปรรูปผลผลิตจากใบกระท่อม เช่น ชาจากใบกระท่อม คุ้กกี้ใบกระท่อม และสามารถประชาสัมพันธ์สินค้าในเรื่อง Circular Economy จากการใช้วัสดุเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมมาใช้ให้คุ้มค่า