ที่มาและความสำคัญ
การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เป็นวิธีการวิเคราะห์แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อแสดงข้อมูลปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินกิจกรรมในองค์กร โดยข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาและบริหารจัดการองค์กรเป็นไปอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังแสดงความรับผิดชอบ ขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบรรเทา ปัญหาภาวะโลกร้อน จึงได้มอบหมายให้ ศสอ. จัดทำแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงาน ของ กฟน. เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต
ผลการดำเนินโครงการ
การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ กฟน. ได้ทำตามข้อกำหนดในการคำนวณขององค์กร โดย องค์การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) จากผลการประเมินได้นำเสนอแนวทางที่สำคัญ ดังนี้
(1) ทางตรง ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วน การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำสำหรับยานพาหนะเครื่องยนต์สันดาปภายใน การลด การรั่วไหลของสารทำความเย็นในระบบปรับอากาศ และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) จากอุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (2) ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า และการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ (3) ทางอ้อมจากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนการจัดหาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการจำหน่ายในอนาคต รวมทั้งการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการซื้อคาร์บอนเครดิต จากผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน (T-VER) เพื่อชดเชยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงาน ขององค์กร
ผลกระทบต่อสังคม
หน่วยงานทราบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงานขององค์กร จะช่วยให้การกำหนดมาตรการในการลด ก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ กฟน. บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังส่งผลโดยรวมต่อการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไปในอนาคต