About the project

คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม มูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกอบการกิจการโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงงานปิโตรเคมีตระหนักถึง ความสำคัญในการควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหยออกสู่ภายนอกโรงงาน จึงมีแนวคิดในการจัดทำหลักปฏิบัติที่ดี(Best Practices) เพื่อควบคุมและลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยจากการประกอบกิจการ โรงงาน

ชื่อและ email.com สำหรับติดต่อ
นางสาวเจริศา จำปา / jayrisa.c@chula.ac.th

ที่มาและความสำคัญ

เพื่อควบคุมและลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยจากการประกอบกิจการโรงงาน มูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จึงได้มอบหมายให้ ศสอ. จัดทำคู่มือหลักปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สำหรับ การดำเนินงานเพื่อควบคุมและลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยจากแหล่งกำเนิด โดยโครงการฯ ได้สำรวจแนวปฏิบัติ ที่โรงงานต่างๆ ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับศึกษาข้อมูลด้านกฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อจัดทำ (ร่าง) กฎหมายจาก 3 แหล่งกำเนิด ประกอบด้วย

  • (ร่าง) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการประกอบกิจการ พ.ศ. ...
  • (ร่าง) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บ พ.ศ. ...
  • (ร่าง) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การรายงานการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. ....

ผลการดำเนินโครงการ

ประเทศไทยมีหลักปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สำหรับการดำเนินงานเพื่อควบคุมและลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหย จากแหล่งกำเนิดซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการประกอบกิจการของโรงงาน และช่วยสนับสนุนการออกร่างกฎหมาย ทั้ง 3 แหล่งกำเนิดต่อไป

ผลกระทบต่อสังคม

หากโรงงานอุตสาหกรรมมีการควบคุมมลพิษที่ดีมาตั้งแต่แหล่งกำเนิด จะช่วยลดการเกิดอันตรายต่อมนุษย์และมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก ซึ่งการมีคู่มือหลักปฏิบัติที่ดีควบคู่ไปกับออกประกาศกฎหมายมาบังคับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีเพื่อควบคุมและลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยจากแหล่งกำเนิด 3 แหล่งจะช่วยให้โรงงาน มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ถูกต้องและสม่ำเสมอ