About the project

ชื่อและ email.com สำหรับติดต่อ
นางสาวสุธาทิพย์ จิตต์วิวัต / suthathip.c@chula.ac.th

ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่เมื่อโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เสริมหมดอายุการใช้งาน หรือไม่เป็นที่ต้องการแล้ว ควรมีวิธีการกำจัดขยะชนิดเหล่านี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” (E-waste) ให้ถูกวิธี เพราะหากถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องจะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบไปด้วยสาร อันตรายและโลหะหนัก อาทิ ตะกั่ว แคดเมียม สารทนไฟจากโบรมีน ลิเทียม นอกจากนี้การนำโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม ไปรีไซเคิลยังช่วยลดภาวะ โลกร้อนได้ เนื่องจากกระบวนการรีไซเคิลใช้พลังงานน้อยกว่าการถลุงแร่หรือโลหะสำหรับนำมาใช้ เป็นวัตถุดิบในการผลิตโทรศัพท์เครื่องใหม่ การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่องสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 12.58 ก.ก. (อ้างอิงจาก www.epa.gov) ศสอ. ได้ดำเนินโครงการ “จุฬาฯ รักษ์โลก” ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ผ่านกิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ อย่างต่อเนื่องและขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชนในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรในหน่วยงานของแต่ละองค์กร

ผลการดำเนินโครงการ

ในปี 2565 โครงการฯ สามารถรวบรวมโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตได้ 1,261 เครื่อง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกกว่า 8,360 กิโลกรัม

ผลกระทบต่อสังคม

ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โครงการฯ ได้จัดส่งอุปกรณ์เหล่านี้ให้กับบริษัทรับรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ เพื่อดำเนินการจัดการอย่างถูกวิธีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จากการ นำทรัพยากรเหล่านี้มาหมุนเวียนเพื่อเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต 1 เครื่องที่นำไปรีไซเคิล โครงการฯ และ TES (บริษัทรับรีไซเคิล) จะมอบเงิน 10 บาท ให้กับ “กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ”