เมื่อวันที่ 23 -26 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม คุณวานิช สาวาโย นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ ส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กรมควบคุมมลพิษ คุณประโชติ กราบกราน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกรรม) สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ประจำกรุงโตเกียว ร่วมกับประธานกลุ่มของเสียอุตสาหกรรม (ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ) ของเสียพลาสติก (ผศ.ดร. มานิตย์ นิธิธนากุล) ของเสียติดเชื้อ (รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล) และคณะนักวิจัยจากศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิจัย และโรงงานอุตสาหกรรมด้านการจัดการของเสียประเภทต่างๆ ภายใต้ “การศึกษาดูงานการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน” ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

โดยคณะผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัย และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ณ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ที่เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยีเซนเซอร์ในแบบจำลอง AI เพื่อรักษาคนไข้ รวมถึงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการนำดินมาวิเคราะห์การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น อีกทั้งยังมีโอกาสอันดีที่ได้รับทราบสถานการณ์การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตและหน้าที่ของผู้บริโภค กับ the Association for Electric Home Appliances (AEHA) และยังมีโอกาสได้เข้าหารือกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of the Environment, Japan) ในการจัดทำแผนแม่บทจัดการขยะอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการขนขยะข้ามประเทศ และการสร้างความร่วมมือสนับสนุนด้านวิชาการ ซึ่งจะช่วยยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อพัฒนาสู่เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายประเทศต่อไป
นอกจากนี้คณะผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานยังได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงงานที่ดำเนินการจัดการของเสียแต่ละประเภท ได้แก่

  • J&T Recycling Corporation โดยเน้นการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกในเขตเมืองโยโกฮามา เพื่อนำมาอัดก้อนก่อนส่งไปจำหน่ายเพื่อผลิตเป็นเม็ดพลาสติกและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
  • Tokyo Rinkai Eco Green and J&T Recycling Corporation มีการใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้เพื่อผลิตพลังงานในการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและของเสียติดเชื้อ
  • JFE Urban Corporation โรงงานถอดแยกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 4 ประเภท ได้แก่ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ อย่างมีประสิทธิภาพและมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อทุ่นแรงคนในการทำงาน
  • Kawasaki PET bottle recycling factory โรงงานรวบรวมของเสียพลาสติกที่มีการคัดแยกแล้ว และมีการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิต rPET
  • Keiaisha Co.,LTD at Yokohama Vehicle Recycling โรงงานรีไซเคิลชิ้นส่วนรถยนต์และกำจัดซากรถยนต์สิ้นสภาพ

ซึ่งจากการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการของเสียอย่างยั่งยืนในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อคณะผู้ศึกษาดูงานและนักวิจัย เพื่อต่อยอดและนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบาย กฎหมาย พร้อมทั้งนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป

เมื่อวันที่ 23 -25 เมษายน 2567 รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้เป็นผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาหารือในการจัดการกากอุตสาหกรรมของประเทศไทย ที่จำเป็นต้องมีแผนแม่บท ออกกฎหมายที่ต้องบูรณาการทุกหน่วยงานในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน

ที่มา:https://www.facebook.com/diwindustrial

🌐📑📊🌏เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการ”การยกระดับระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมและก๊าซเรือนกระจกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ ห้องจามจุรี 1 โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ และเปิดระบบฐานข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทดลองใช้งาน Digital Waste Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่นำข้อมูลกากอุตสาหกรรมมาวิเคราะห์และแสดงผลในรูปแบบดิจิทัล รวมทั้งนำข้อมูลไปสร้างเป็น Model เพื่อวิเคราะห์โดยผ่านกระบวนการ Machine Learningทั้งนี้ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มาเป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา สถาบันการวิจัย และหน่วยงานผู้ให้ทุนทำให้ได้รับข้อเสนอแนะและคำแนะนำจากผู้ที่ทดลองใช้งานระบบ Digital Waste Platform รวมไปถึงความต้องการเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาต่อยอดแพลตฟอร์มดังกล่าวต่อไปในอนาคต
________________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
📩 hsm@chula.ac.th
☎️ 02 218 3952
Center of Excellence on Hazardous Substance Management #HSM

กรมโรงงานฯ ร่วมกับ GIZ จัดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนที่นำทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนที่นำทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ภายใต้โครงการ Climate Action Programme for the Chemical Industry (CAPCI): Supporting the Development of a National Roadmap on Sustainable Chemical and Climate Change for Thailand โดยมี ดร. เดสเลฟ ชไรเบอร์ (Dr. Detlef Schreiber) ผู้อำนวยการโครงการ CAPCI องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมบรรยายพิเศษการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีที่ยั่งยืนในประเทศต่าง ๆ และมีนางสาวอารยา ไสลเพชร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นางสาวปานทอง ศรีคัฒนพรหม รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน สถาบันการศึกษาวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาโครงการฯ และเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวม 97 คน เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ

อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง โดยมีการปล่อยจากภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มากเป็นลำดับที่ 2 รองจากอุตสาหกรรมอโลหะ/ซีเมนต์ อุตสาหกรรมเคมีจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการปัญหาโลกร้อน รวมทั้งเป็นโอกาสในการลงทุนและพัฒนาธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำต่อไป ทั้งนี้ แผนที่นำทางฯ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากโครงการ CAPCI ภายใต้ความร่วมมือไทย-เยอรมันนี้ จะเป็นกรอบแนวทางสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเคมีคาร์บอนต่ำและยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป

ที่มา: https://www.facebook.com/diwindustrial

🖊📄 ♻️🌏วันที่ 12 ธันวาคม 2566 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้บริหารบริษัท อินทรี ซุปเปอร์บล็อก จำกัด ผู้บริหารบริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสีย (ศสอ.) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีสเทิร์นซิลิเกต จำกัด และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการ ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
________________________________________
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
📩 hsm@chula.ac.th
☎️ 02 218 3952
Center of Excellence on Hazardous Substance Management #HSM