ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 พร้อมวางแผนและพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) จัดการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 และวางแผนพัฒนากิจกรรมสำหรับปีที่ 2-5 โดยมี รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 9 ศสอ.

รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ในปีที่ 1 รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและการดำเนินงานในปีที่ 2-5 พร้อมทั้งระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะในการสร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการของเสียทั้งในและต่างประเทศ จากประธานกลุ่มการจัดการของเสีย ประกอบไปด้วย ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ (กลุ่มของเสียอุตสาหกรรม) ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี (ของเสียชุมชน) รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล (มูลฝอยติดเชื้อ) และ ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล (ของเสียพลาสติก) เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯ และงานวิจัยด้านการจัดการของเสียในประเทศไทยได้มีแนวทางและยุทธศาสตร์การวิจัยที่เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง รวมไปถึงการขยายเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีด้านการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนให้เกิดความยั่งยืน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จัดการประชุมนำเสนอ “ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย” ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย : การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2
📆 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.
📍ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพฯ
✅ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. และผู้บริหารแผนงานวิจัยฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนำเสนอผลการวิเคราะห์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ จากนั้น ดร.ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ หัวหน้าโครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ ตามด้วย การนำเสนอความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดย ผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ
✅ ปิดท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมประชุม

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี จากรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์ว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 656,651 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 1.6) โดยเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 428,113 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 65 ของของเสียอันตรายทั้งหมด) แต่เนื่องด้วยการจัดการไม่มีระบบการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่บ้านเรือนจนถึงปลายทาง ส่งผลให้ปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากในปัจจุบันซากถ่านไฟฉายใช้แล้วซึ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่ง มักจะถูกทิ้งปะปนไปกับขยะในครัวเรือนและเข้าสู่หลุมฝังกลบชุมชน และประเทศไทยยังไม่มีการนำถ่านไฟฉายกลับมารีไซเคิล ด้วยเหตุไม่คุ้มต่อการลงทุน ผศ.ดร. ธิดารัตน์ บุญศรี