ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จัดการประชุมนำเสนอ “ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย” ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย : การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน ระยะที่ 2
📆 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.
📍ณ ห้องประชุมจามจุรี 2 โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพฯ
✅ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการ ศสอ. และผู้บริหารแผนงานวิจัยฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนำเสนอผลการวิเคราะห์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ จากนั้น ดร.ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ หัวหน้าโครงการข้อเสนอแนวทางด้านกฎหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ตามร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ (ฉบับรับฟังความคิดเห็นมีนาคม 2564)
✅ ตามด้วย การนำเสนอความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดย ผู้แทนส่วนพัฒนากฎหมาย กองกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษ
✅ ปิดท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการเงินและการคลังจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมประชุม

จากกรณีเหตุเพลิงไหม้โรงงานพลาสติกที่ย่านบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเวลาหลายชั่วโมงตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 5 กรกฎาคม ต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม
ซึ่งเป็นเหตุให้ถังสารเคมีในโรงงานที่มีอยู่พันกว่าตันบางส่วนเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงก่อให้เกิดผลกระทบจากมลพิษและมลสารที่ฟุ้งกระจายออกไปเป็นวงกว้าง หลายกิโลเมตร ในเรื่องนี้นักวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดเสวนาออนไลน์แบบเร่งด่วนขึ้น เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคมที่ผ่านมา ในหัวข้อ “เปิดมุมมองวิศวกรรมเพื่อป้องกันและรับมืออุบัติเหตุสารเคมีในอนาคต” โดยมีผู้ร่วมเสวนาจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ ซึ่งในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับ “งานที่ต้องทำภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการระงับเหตุเพลิงไหม้โรงงานพลาสติก ตั้งแต่การคัดแยก บำบัดและกำจัดของเสียอันตรายอย่างถูกวิธี” โดยสรุปได้ดังนี้

“เหตุการณ์ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ มีทีมงานจากหลากหลายหน่วยงานเข้าร่วมระงับเหตุเมื่อเหตุการณ์สงบและเริ่มคลี่คลายลง ยังคงมีกลุ่มคนอีกหลายหน่วยงานที่จะต้องเข้ามาจัดการกับปัญหาด้านมลพิษทั้งในที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ ยกตัวอย่างเช่น โฟมที่ใช้ในการดับเพลิงสารเคมีที่รั่วไหลปนเปื้อนจำนวนมาก ยังไม่รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการดับเพลิงซึ่งวัสดุเหล่านี้เป็นของเสียอันตราย จะต้องได้รับการคัดแยก นำไปบำบัด และกำจัดอย่างถูกวิธี

นอกจากนี้ ในการเฝ้าระวังเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะต้องมีการบูรณาการความร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ อาทิ การบูรณาการด้านข้อมูลที่มีการจัดทำและจัดเก็บแยกในแต่ละหน่วยงานโดยต้องมีการแบ่งปันข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในกรณีมีเหตุการณ์สารเคมีหรือสารอันตรายเกิดการรั่วไหลขึ้น รวมทั้ง ต้องมีการ Monitor เรื่องความปลอดภัยซึ่งจะต้องทำอย่างจริงจังรวมถึงการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registration) หรือ PRTR โดยโจทย์ที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอีกด้านคือ ข้อกำหนดกฏหมายซึ่งบางครั้งการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย ต้องใช้ระยะเวลายาวนานและมักไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น”

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา เวลา 13.30-15.45 น. สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์  นายกสภาวิศวกร ได้จัดเสวนาแบบไลฟ์สด “Why วิศวะ?” ในหัวข้อ “วิศวกรยุคดิสรัปชันกับทางรอดของโลก”

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี จากรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์ว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 656,651 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 1.6) โดยเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 428,113 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 65 ของของเสียอันตรายทั้งหมด) แต่เนื่องด้วยการจัดการไม่มีระบบการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่บ้านเรือนจนถึงปลายทาง ส่งผลให้ปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 คณะอาจารย์และนิสิต ภาคธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 16 คน ซึ่งนำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกลวรรณ ชาวไชย ได้เข้าชมการสาธิตการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์

จุฬาฯ โดย ศสอ. จับมือกับ บริษัท อมิตา เทคโนโลยีภายใต้ MOU พัฒนาเครื่องต้นแบบระบบคายประจุไฟฟ้าและเครื่องแยกชิ้นส่วนเซลล์แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และการศึกษากระบวนการนำกลับโลหะมีค่า

ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการสารอันตรายและสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ) สวัสดีปีใหม่ ผู้อำนวยการ ศสอ.