วันที่ 4 ตุลาคม 2567 คุณสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) เป็นผู้แทนเข้ารับมอบเกียรติบัตรและของที่ระลึก เพื่อแสดงว่า ศสอ. ได้สนับสนุนการจัดกิจกรรม “โครงการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จาก รองศาสตราจารย์ ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ณ อาคารสยามสเคป (SiamScape) ภายในงานมีการจัดกิจกรรมเสวนา ภายใต้ธีมงาน “ERIC Next Chapters” Igniting a Green Awakening ปลุกและปล่อยพลังสายกรีน จากผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ และ Green Influencers ชื่อดัง
วันที่ 3 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวาระวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม ครบรอบ 50 ปี พร้อมมอบของที่ระลึกแก่ รองศาสตราจารย์ ดร. พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม และร่วมลงนามแสดงความยินดีเนื่องในวาระการครบรอบดังกล่าว
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development : WMS HUB) ภายใต้ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “การจัดการของเสียในประเทศไทยและอาเซียนมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote Speaker) อาทิเช่น
- ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานคณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 10 ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ’
- ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ดร.นภาพร ตั้งถิ่นไท นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ
พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียที่นำเสนอแนวคิด และประสบการณ์อีกหลายท่าน โดยมีเข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา สถาบันการวิจัย หน่วยงานผู้ให้ทุน และภาคประชาสังคม เป็นจำนวนมาก การประชุมดังกล่าวทำให้ได้ทราบถึงทิศทางงานวิจัยต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม นโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โจทย์และทิศทางงานวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนจากหน่วยงานให้ทุน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านการจัดการของเสียทั้งในประเทศและระดับอาเซียน
website : wmshub.org
facebook : https://www.facebook.com/HubofWasteManagementforSustainableDevelopment/