♻️🇹🇭 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ในงาน EnwastExpo 2024 ณ Amber 3, อิมแพ็ค เมืองทองธานี คุณสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ร่วมกับ คุณวิสูตร ชัชวาลวุฒิกุล รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้บรรยายในหัวข้อ “Intermediate Findings from Sandbox Project on Air Conditioner & Refrigerator Extended Producers Responsibility in Thailand” โดยนำเสนอสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้
🔶 แนวคิดและแรงผลักดันของภาคเอกชน ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
🔶ความก้าวหน้าของโครงการแซนด์บ็อกซ์ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตกรณีเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ซึ่งเป็นความร่วมมือของผู้ผลิต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน ในการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น เพื่อทดลองแนวทางการจัดการซากที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยโดยใช้หลักความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility – EPR) ซึ่งสนับสนุนสำหรับการจัดทำพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
🔶ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จคือการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยความโปร่งใส และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
🔶ความท้าทายในการดำเนินการ เช่น การดำเนินการธุรกิจ กฎหมาย ความรู้และเทคโนโลยี การติดตามตรวจสอบ และการสร้างความตระหนัก
🔶โอกาสของการดำเนินการ เช่น การสร้างธุรกิจสีเขียว การตอบสนองนโยบาย ข้อกำหนดของต่างประเทศ เพื่อขยายตลาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไป
การบรรยายครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ผลิต และการความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการผลักดันการใช้แนวคิดความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility – EPR) ในประเทศไทย เพื่อสร้างระบบการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
♻️🇺🇸 November 14, 2024, at EnwastExpo 2024 at Amber 3, IMPACT Muang Thong Thani, Mr. Surachai Leewattananukul, Assistant Director of the Center of Excellence on Hazardous Substance Management, together with Mr. Wisoot Chachvalvutikul, Vice Chairman Economic Affairs of Air Conditioning and Refrigeraion Industry Club, Federation of Thai Industry, delivered a presentation titled “Intermediate Findings from the Sandbox Project on Air Conditioner & Refrigerator Extended Producers Responsibility in Thailand.” Key points highlighted in the presentation included
➡️The concept and motivations of the private sector, emphasizing the importance of responsible, safe, and environmental sound management of electronic and electrical waste through active participation.
➡️Progress of the EPR Sandbox Project for waste air conditioners and refrigerators, a collaborative effort among producer and stakeholders in supply chain to trial effective and safer E-waste management, utilizing the Extended Producer Responsibility (EPR) approach. This initiative supports the development the (draft) WEEE Act of Thailand.
➡️Key Successes such as stakeholders engagement across all sectors involved—from manufacturers, distributors, and consumers to government and private organizations—emphasizing transparency and fair benefit-sharing.
➡️Challenges including business operations, legal aspects, knowledge and technology, monitoring, and public awareness.
➡️Opportunities such as creating green business initiatives, responding to national and international policies, and expanding the market for environmentally friendly products, which is increasing significantly.
This presentation emphasize the manufacturers and stakeholder in promoting the Extended Producer Responsibility (EPR) concept in Thailand, aiming to develop a sustainable and eco-friendly system for E-waste management
วันที่ 4 ตุลาคม 2567 คุณสุรชัย ลีวัฒนานุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) เป็นผู้แทนเข้ารับมอบเกียรติบัตรและของที่ระลึก เพื่อแสดงว่า ศสอ. ได้สนับสนุนการจัดกิจกรรม “โครงการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จาก รองศาสตราจารย์ ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ณ อาคารสยามสเคป (SiamScape) ภายในงานมีการจัดกิจกรรมเสวนา ภายใต้ธีมงาน “ERIC Next Chapters” Igniting a Green Awakening ปลุกและปล่อยพลังสายกรีน จากผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ และ Green Influencers ชื่อดัง
วันที่ 3 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ได้ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวาระวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม ครบรอบ 50 ปี พร้อมมอบของที่ระลึกแก่ รองศาสตราจารย์ ดร. พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม และร่วมลงนามแสดงความยินดีเนื่องในวาระการครบรอบดังกล่าว
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 พร้อมวางแผนและพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development) จัดการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานในปีที่ 1 และวางแผนพัฒนากิจกรรมสำหรับปีที่ 2-5 โดยมี รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) และหัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 9 ศสอ.
รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ในปีที่ 1 รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและการดำเนินงานในปีที่ 2-5 พร้อมทั้งระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะในการสร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการของเสียทั้งในและต่างประเทศ จากประธานกลุ่มการจัดการของเสีย ประกอบไปด้วย ดร.ปัทมวรรณ คุณประเสริฐ (กลุ่มของเสียอุตสาหกรรม) ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี (ของเสียชุมชน) รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล (มูลฝอยติดเชื้อ) และ ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล (ของเสียพลาสติก) เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯ และงานวิจัยด้านการจัดการของเสียในประเทศไทยได้มีแนวทางและยุทธศาสตร์การวิจัยที่เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง รวมไปถึงการขยายเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีด้านการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนให้เกิดความยั่งยืน
🌱 Grateful for the insightful discussions at the “ESG and Sustainable Finance” event held at Silpakorn University and Chulalongkorn University on March 5th-6th! 🌍
.
Key takeaways included exploring the journey of ESG, understanding its current state of play, and identifying both risks and opportunities. The event shed light on the relationship between ESG and sustainable finance, introducing new models for sustainable development and providing an overview of sustainable finance instruments.
.
Highlights included Mr. Bill H. Rahill’s expertise in sustainable finance and operations management, offering exclusive insights into ESG implementation and financial opportunities for companies. Professor Dr. Pisut Painmanakul provided a comprehensive perspective on ESG from a national standpoint, outlining Thailand’s approach and influencing factors. Additionally, Mr. Sivach Kaewcharoen shared valuable information on Thailand’s greenhouse gas emission reduction efforts and strategies.
.
A special thanks to the National Council of Thailand, Hub of Waste Management for Sustainable Development, all speakers, and participants for contributing to this enriching dialogue. Together, let’s continue driving progress towards a more sustainable future!
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามกิจกรรมจาก #ศสอ. ได้ที่
🌐 เว็บไซต์ : https://hsm.chula.ac.th/website/
📱 Facebook : https://www.facebook.com/HazardousSubstanceManagement
📩 Email : hsm@chula.ac.th
☎️ โทรศัพท์ : 02 218 3952
CENTER OF EXCELLENCE ON HAZARDOUS SUBSTANCE MANAGEMENT
วันที่ 11 มกราคม 2567 คณะวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการกู้คืนสารทำความเย็นที่ บริษัท อิวาตานิ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บางกอก แก๊ส เซ็นเตอร์ เป็นที่แรกในประเทศไทยที่เริ่มกระบวนการ recovery สารทำความเย็นให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ “โครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี สนับสนุนโดยกองทุนนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมทำความเย็น (EGAT Cooling Innovation Fund: CIF)” มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาและออกแบบแนวทางการรวบรวมซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น โดยมีการนำเทคโนโลยีการใช้ระบบติดตามซากฯ ที่ได้พัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นที่จะนำไปสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
วันที่ 5 มกราคม 2567 คณะวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการขนส่งซากเครื่องปรับอากาศเข้าสู่ระบบการจัดการอย่างถูกต้อง ที่รวบรวมร่วมกับ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด ในเเคมเปญ “เก่าแลกใหม่” ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ “โครงการส่งเสริมกระบวนการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี สนับสนุนโดยกองทุนนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมทำความเย็น (EGAT Cooling Innovation Fund: CIF)” มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาและออกแบบแนวทางการรวบรวมซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็น โดยมีการนำเทคโนโลยีการใช้ระบบติดตามซากฯ ที่ได้พัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการซากเครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นที่จะนำไปสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี
ศสอ-HSM (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย)
📢 ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนา การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน
✨จากกรณีศึกษา 3 เรื่องที่น่าสนใจ✨
🧩 เถ้าจากโรงไฟฟ้าขยะ
🧩 เม็ดพลาสติกรีไซเคิล
🧩 ขยะอิเล็กทรอนิกส์
🕘 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น ZOOM
📃 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโดยแสกน QR CODE จากโปสเตอร์ หรือ https://docs.google.com/…/1FAIpQLScOchKbuhIY5a…/viewform
📞 ติดต่อสอบถามผ่านเพจ facebook WASTE Talk สนใจสมัครเลย